ปทัสถานความเป็นพลเมืองดิจิทัลกับเยาวชนภายใต้ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ปฏิภาณ ผลมาตย์ นักวิชาการอิสระ
  • พรอัมรินทร์ พรหมเกิด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล, การแบ่งชนชั้นทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยให้เห็นอำนาจความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่เบียดขับเยาวชนผู้อาศัยอยู่ภายใต้ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลผ่านมุมมองทางสังคมวิทยา ซึ่งในวิกฤตการณ์โควิด-19 กับการเรียนออนไลน์เป็นบริบทตัวอย่างที่สะท้อนเห็นได้ชัดเจนว่าเยาวชนกลุ่มนี้จำต้องปรับตัวต่อรองกับความพร้อมด้านทุนทางดิจิทัลเพื่อเอาตัวรอดและมีตำแหน่งแห่งที่ให้ตนเองไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา ทั้งนี้การผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยสามารถเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ยังธำรงไว้ซึ่งปทัสถานความเป็นพลเมืองดิจิทัล รวมถึงการแบ่งชนชั้นทางดิจิทัลกีดกันผู้ไร้ซึ่งทุนทางดิจิทัลให้เป็นผู้อ่อนแอถูกปิดกั้นโอกาสทางการศึกษาและการทำงานในอนาคต นอกจากนี้ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางการศึกษาวิจัยในประเด็นความเป็นพลเมืองดิจิทัลและเยาวชนภายใต้ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลเพื่อสร้างความเข้าใจ เปลี่ยนแปลง และพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองของสังคมดิจิทัลในระบอบประชาธิปไตยไทยได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564ก). กสศ.สำรวจสถานการณ์เด็กหลุดออกนอกระบบหลังเปิดเทอมใหม่. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565, จาก https://www.eef.or.th/news-eef-explore-children-falling-out-of-system-after-new-semester/

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564ข). สถิตินักเรียนยากจน. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2565, จาก https://isee.eef.or.th/screen/pmt/cctall_jonjonextra.html

จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2564). ชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัล: ความท้าทายและแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์. วารสารมานุษยวิทยา, 4(2), 109-142.

จุฑา ภักดีกุล. (2558). เด็กยุคดิจิตอล. สารานุกรมศึกษาศาสตร์, 30(50), 79-83.

เชาวลิต ศรีเสริม ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2564). การเห็นคุณค่าในตนเอง ทัศนคติต่อพฤติกรรมรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ และพฤติกรรมรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(1), 112-127.

ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น, วรสิริ สิริวิพัทน์. (2560). การรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 32-48.

ณัฎฐพัชร คุ้มบัว และไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์. (2563). การรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศของนักเรียนนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารนิเทศศาตร์ มสธ., 10(1), 32-44.

ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาทิตยา สมโลก และรดี ธนารักษ์. (2562). คู่มือรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัยต่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: บริษัท เฟิสท์ ออฟเซท (1993) จำกัด.

เบญจรงค์ ถิระผลิกะ. (2563). วิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณาดิจิทัล: วิธีการในการศึกษาพื้นที่เสมือน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 8(1), 76-88.

รพีพร ธงทอง. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองสมัยใหม่ของเด็กและเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(1), 27-40.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134.

วัฒนชัย ศิริญาณ และชัยรัตน์ มาสอน. (2561). การพัฒนาพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 21. รมยสาร, 16(1), 155-182.

แววตา เตชาทวีวรรณ, อัจศรา ประเสริฐสิน (2559). การประเมินการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 34(4), 1-28.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2564). นักเรียนเป็นศูนย์กลางและมีทักษะการให้เหตุผลในปัญหาที่ซับซ้อน: กุญแจฟื้นวิชาความเป็นพลเมืองสู่การมีส่วนร่วมที่แข็งขันในสังคม. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565, จาก https://www.sdgmove.com/2021/08/07/civic-education-reasoning-and-students-centered

สํานักงบประมาณของรัฐสภา สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2564). ความเหลื่อมล้ำของจังหวัดกับการจัดสรรงบประมาณของไทย (ปี 2552-2564) : เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: สํานักงบประมาณของรัฐสภา สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สพฐ. แจงแนวทางการจ่ายเงินเยียวยานักเรียน-ผู้ปกครอง 2,000 บาท. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565, จาก https://www.obec.go.th/archives/479291

Bennett, W. L. (2007). Civic learning in changing democracies: Challenges for citizenship and civic education. In P. Dahlgren (Ed.), Young citizens and new media: Learning democratic engagement. (pp. 59–77). New York, NY: Routledge.

Calderón Gómez, D. (2020) The third digital divide and Bourdieu: Bidirectional conversion of economic, cultural, and social capital to (and from) digital capital among young people in Madrid. New Media & Society, 23(9), 1-20.

Certeau, M. de. (1988). The Practice of Everyday Life. Translated by Steven F. R. Berkeley: University of California Press.

Dhamanitayakul, C. & Biggins, O. (2019). Conceptualizing digital citizenship for digital natives in Thailand. Journal of Communication Arts Review, 23(3), 60-73.

Goudeau, S., Sanrey, C., Stanczak, A., Manstead, A., & Darnon, C. (2021). Why lockdown and distance learning during the COVID-19 pandemic are likely to increase the social class achievement gap. Nature Human Behavior, 5(2021), 1273–1281.

Harris, C., Straker, L., & Pollock., C. (2017). A socioeconomic related 'digital divide' exists in how, not if, young people use computers. PLoS ONE, 12(3), 1-13.

Ignatow, G. & Robinson, L. (2017). Pierre Bourdieu: Theorizing the digital. Information, Communication & Society, 20(7), 950-966.

McGillivray, D. & Mahon, J. (2021). Distributed digital capital: Digital literacies and everyday media practices, Media Practice and Education, 22(3), 196-210.

Mossberger, K., Tolbert, C. J., & McNeal, R. S. (2008). Digital citizenship: The internet, society, and participation. Massachusetts: MIT Press.

Norris, P. (2001). Digital divide: Civic engagement, information poverty, and the internet worldwide. Cambridge: Cambridge University Press.

Przeworski, A., Alvarez, M. E, Cheibub, J. A., & Limongi, F. (2000). Democracy and development political institutions and well-being in the world, 1950–1990. Cambridge: Cambridge University Press.

Ragnedda, M. (2017). The third digital divide: A Weberian approach to digital inequalities. New York: Routledge.

Ribble, M. (2015). Digital citizenship in schools: Nine elements all students should know. Washington DC: International Society for Technology in Education.

van Dijk, J. (2006). Digital divide research, achievements and shortcomings. Poetics, 34(4-5), 221-235.

Villanueva-Mansilla, E., Nakano, T., & Evaristo, I. (2015). From divides to capitals: An exploration of digital divides as expressions of social and cultural capital. In L.Robinson, S. R. Cotten, J.Schulz, T. M. Hale, & A.Williams (Eds.), Digital distinctions and inequalities. Emerald studies in media and communications (vol. 10, pp. 89–117). Bingley, UK: Emerald Group Publishing Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28