การพัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติสำหรับนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
คำสำคัญ:
ทักษะการสื่อสาร, บทบาทสมมติ, นักศึกษาแพทย์บทคัดย่อ
การสื่อสารของนักศึกษาแพทย์ที่จะต้องเป็นแพทย์ในอนาคตนั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยสิ่งสำคัญในการสื่อสารของแพทย์กับคนไข้หรือญาติผู้ป่วย แพทย์ควรต้องฝึกฝนให้มีทักษะการสื่อสารที่ดีเนื่องจากส่งผลต่อการวินิจฉัยโรคและการได้รับความร่วมมือจากคนไข้ ดังนั้นการพัฒนาการสื่อสารของนักศึกษาแพทย์จำเป็นที่จะต้องใช้บทบาทสมมติซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของการสื่อสารการแสดงเพื่อสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ที่จะเป็นแพทย์ในอนาคตมีทักษะการสื่อสารที่ดี โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอการใช้บทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นก่อนแสดงผู้เขียนในฐานะผู้จัดการเรียนรู้ต้องกำหนดหัวข้อปัญหาที่มาจากผู้ป่วยและปัญหาที่มาจากแพทย์ แล้วให้นักศึกษาแพทย์กำหนดสถานการณ์เองภายใต้หัวข้อที่กำหนด ผู้เขียนสร้างข้อตกลงเรื่องเวลาในการแสดง ผู้เขียนต้องตกลงกับนักแสดงในเรื่องของสีที่เป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์ ในขั้นแสดงนั้นนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมแสดงบทบาทสมมติเป็นรายบุคคล ขั้นหลังแสดงคือ การประเมินผล โดยการประเมินผลของนักแสดงที่มีต่อการสื่อสารของนักศึกษาแพทย์ พบว่านักศึกษาแพทย์สามารถสื่อสารว่ามีความรู้ในข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก (X = 4.157) และการประเมินผลของนักศึกษาแพทย์ที่มีต่อการใช้บทบาทสมมติในการพัฒนาการสื่อสารของนักศึกษาแพทย์ โดยผลการประเมินออกมาว่าความเหมาะสมของหัวข้อที่ผู้เขียนกำหนดให้ในการแสดงบทบาทสมมติอยู่ในระดับมาก (X= 4.471)
References
จิตตาภรณ์ กล่อมแดง. (2546). การสื่อสารระหว่างสูตินรีแพทย์กับคนไข้ในการตรวจรักษาโรค. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ. DOI https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=
ชิษณุ พันธุ์เจริญ, จรุงจิตร์ งามไพบูลย์, และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2553). ทักษะการสื่อสาร How to. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส
ประชัน วัลลิโก. (2548). ความรู้เบื้องต้นทางการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชานิเทศศาสตร์
พิพัฒนธนวงศ์, ว. (2018). ทักษะชีวิตวัยรุ่นไทยในศตวรรษที่ 21. PAYAP UNIVERSITY JOURNAL, 24(2), 39-63. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pyu/article/view/133726
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ