บทบาททางเพศของเพลงลูกทุ่งปัจจุบัน
คำสำคัญ:
บทบาททางเพศ, เพศวิถี, เพลงลูกทุ่งอินดี้บทคัดย่อ
เพลงลูกทุ่งไทยเป็นแนวเพลงที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะสภาพสังคมและวัฒนธรรมมักจะมีอิทธิพลกับเพลงลูกทุ่งในทุกยุคสมัย ทำให้เพลงลูกทุ่งแต่ละยุคนั้นจะสะท้อน ความคิด ความเชื่อ ของผู้คนคนในยุคนั้น ๆ โดยการถ่ายทอดเรื่องราวทางเพศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านเพลงลูกทุ่งในแต่ละยุคสมัย ซึ่งในปัจจุบันเพลงลูกทุ่งอินดี้ถูกได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ไม่ว่าบุคคลใดก็สามารถเป็นผู้ผลิตเพลงลูกทุ่งได้
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางเพศของเพลงลูกทุ่งอินดี้ในยุคปัจจุบัน โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งจะมุ่งเน้นวิเคราะห์ที่ตัวเนื้อหาของเพลงลูกทุ่งอินดี้ผ่านแนวคิดเรื่องเพศวิถี (Sexuality) ความรู้เกี่ยวกับเพลงลูกทุ่ง ทฤษฎีบทบาท (Role Theory) ทฤษฎีภาพตัวแทน (Representation) และทฤษฎีการสร้างความเป็นจริงทางสังคม (Social Construction of Reality) โดยผู้วิจัยจะนำทฤษฎีและแนวคิดมาผนวกกับเนื้อหาข้อมูลที่ได้ศึกษา และนำมาพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive analysis) และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นรูปประธรรมมากขึ้นผู้วิจัยจึงจัดทำตารางบันทึกข้อมูล (Coding Sheet) เพื่อแสดงผลของบทบาททางเพศที่เกิดขึ้นในเพลงลูกทุ่งอินดี้ โดยผลวิจัยพบว่าบทบาททางเพศของเพลงลูกทุ่งอินดี้ปัจจุบัน พบความสัมพันธ์ของเพศวิถีที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาททางเพศในเพลงลูกทุ่ง 3 รูปแบบ คือ เพศวิถีของความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง เพศวิถีของความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับครอบครัว และเพศวิถีของความสัมพันธ์ของเพศทางเลือก โดยนอกจากนี้ยังพบบทบาททางเพศที่ปรากฎขึ้นในเพลงลูกทุ่งอินดี้ปัจจุบัน ได้ทั้งหมด 4 บทบาทหลัก คือ บทบาทของคู่รัก บทบาทของการถูกทิ้งและการนอกใจ บทบาทบุคคลต้นแบบ และบทบาทการต่อรองทางเพศ ซึ่งทุกเพศวิถีของความสัมพันธ์และทุกบทบาททางเพศล้วนมีการเปลี่ยนแปลงหรือต่อสู้เพื่อเรียกร้องบางอย่างให้กับบทบาททางเพศของตนเอง โดยใช้เพลงลูกทุ่งอินดี้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดสู่สังคม
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์ จํากัด.
กาญจนา แก้วเทพ และ พริศรา แซ่ก้วย. (2547). เพศวิถี : วันวาน วันนี้ และวันพรุ่ง ที่จะไม่เหมือนเดิม.กรุงเทพฯ : ศูนย์สตรีศึกษา.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540). ความคาดหวังของผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาต่อบทบาทการส่งเสริม การบริหารงานเอกสาร ข้อมูลทางวัฒนธรรมของสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
จินตนา ดำรงค์เลิศ. (2533). วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เจด็จ คชฤทธิ์. (2556). ความยากจนในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง: มุมมองและข้อสังเกตบางประการ. ฉบับที่ 2. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ทับทิม ชัยชะนะ. (2559). บทบาทของผู้หญิงสามัญในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ทัศน์วศิน ธูสรานนท์. (2559). การศึกษา เรื่อง พัฒนาการในการสื่อสารของเพลงลูกทุ่งผ่านการเล่าเรื่องตามค่านิยมของสังคมไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
นฤมล พันธุ์ประชา. (2561). ผู้หญิงชนบทในเพลงลูกทุ่งของ ต่าย อรทัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
พันธกานต์ มานนท์. (2559). การสื่อสารภาพตัวแทนของผู้หญิงชนบทในเพลงลูกทุ่ง ที่ขับร้องโดย ตั๊กแตน ชลดา. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นัดดา ธนทาน. (2556). การวิเคราะห์ศึกษาภาพเขียนมนุษย์ของทวีศักดิ์ ศรีทองดี ระหว่าง ปี พ.ศ 2540-2554. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันเฉลิม ใจสุข. (2561). ความรักในบทเพลงลูกทุ่งไทยของตั๊กแตนชลดา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ศิริพร กรอบทอง. (2541). วิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย พ.ศ. 2481- 2535. กรุงเทพฯ: อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ