แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • นพดล อินทร์จันทร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, คุณลักษณะ, ครูศิลปะการแสดง

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะของภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในปัจจุบัน และ เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21  โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กลุ่มคือ ทรรศนะของกลุ่มผู้สอน จำนวน 136 คน และ ทรรศนะของกลุ่มผู้เรียน จำนวน 313 คน โดยจัดโครงสร้างเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) คุณลักษณะเฉพาะเชิงพฤติกรรม (Attributes) และด้านบุคลิกและภาพลักษณ์เฉพาะของครูศิลปะการแสดง โดยได้นำข้อมูลช่วงอายุโดยแบ่งตาม Generation เพื่อวิเคราะห์ความคิดและทรรศนะ แสดงความเชื่อมโยง จากนั้นนำมาสร้างแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 โดยประมวลผลจากการทบทวนวรรณกรรมร่วมกับผลการวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม เมื่อใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยพบว่าทั้งผู้เรียนและผู้สอน มีความเห็นถึงความสำคัญด้านบุคลิกและภาพลักษณ์เฉพาะของครูศิลปะการแสดง อยู่ในระดับมากที่สุด โดยคุณลักษณะด้านความรู้ที่ควรมีคือ สามารถอธิบายความรู้ด้านนาฏศิลป์ และการละครไทยได้เป็นอย่างดี และต้องมีความรู้ที่หลากหลายสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆในการทำงานข้ามศาสตร์ คุณลักษณะด้านทักษะที่ควรมีคือ  ทักษะด้านการนับจังหวะ ทักษะในบริหารการจัดการแสดง และทักษะด้านการสื่อสาร ลักษณะเฉพาะเชิงพฤติกรรม (Attributes)  ที่ควรมีคือ คุณลักษณะทางด้านความอดทนต่อการปฏิบัติงาน และการเป็นแบบอย่างของคุณธรรมจริยธรรม และศีลธรรมที่ดี ความกล้าแสดงออก และมีพฤติกรรมการพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ในการพัฒนาด้านบุคลิกและภาพลักษณ์เฉพาะของครูศิลปะการแสดงที่ควรมีคือ มีบุคลิกของการตื่นรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์  มีภาพลักษณ์ของความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ในทางสถิติ ด้วย t-test และ f-test พบว่าผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ได้แก่ ระดับการสอนหรือระดับการศึกษา ของกลุ่มผู้สอนในระดับอุดมศึกษาสูงกว่า กลุ่มผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ในขณะที่กลุ่มผู้เรียนไม่มีความต่างกัน    พบว่าผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างช่วงอายุในแต่ละ Generation ระหว่าง กลุ่มครู (Gen X, Gen Y) กับ กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา (Gen Z) จะมีระดับความเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านทักษะ (Skills) เพียงด้านเดียวที่ไม่แตกต่าง

พบว่าแนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ และคุณลักษณะของครูศิลปะการแสดงในศตวรรษที่ 21 มี 6 แนวทางได้แก่ 1. ส่งเสริมพัฒนาทักษะการสื่อสาร และการบริหารจัดการแสดง 2.การยกระดับศักยภาพครูศิลปะการแสดง ให้มีความรู้ที่หลากหลาย สามารถเสาะแสวงหาความรู้ เชื่อมโยง และถ่ายทอดสู่ผู้เรียน 3.ปรับบทบาทของครูศิลปะการแสดงจากผู้สอน เป็นผู้อำนวยการศึกษา (Facilitator) และเป็นนักสร้างสรรค์ 4.ส่งเสริมทักษะการใช้สื่อ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 5.ส่งเสริมพัฒนาภาพลักษณ์ของครูศิลปะการแสดงให้มีความทันสมัย และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 6. รักษาความเป็นภาพลักษณ์ของบุคลากรที่มีอิทธิพลต่อคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมของไทย

References

(จินตนา อนุวัฒน์. 2565, พฤษภาคม). สัมภาษณ์โดย ประสิทธิ์ ตึกขาว. ระบบออนไลน์

(ณัฐดนัย หมั่นเที่ยง. 2565, พฤษภาคม). สัมภาษณ์โดย ประสิทธิ์ ตึกขาว. ระบบออนไลน์

ดนุลดา จามจุรี. (2563). การออกแบบการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน GEN Z. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2549). Competency-Based Approach. กรุงเทพฯ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาสถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

(ปรารถนา คงสำราญ. 2564, มกราคม). สัมภาษณ์โดย ขวัญชนก ถึกสุวรรณ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประพิณศิริ อินทธิรา. (2564). ทักษะในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2564, จาก http://prapinsiri.esdc.go.th/home/thaksa-ni-stwrrs-thi-21

(ประสิทธิ์ ตึกขาว. 2565, พฤษภาคม). สัมภาษณ์โดย นพดล อินทร์จันทร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พัชรา โพธิ์ไพฑูรย์. (2547) . ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับองค์กรในเรื่องค่านิยมในการทำงานที่มีผลต่อทัศนคติในการทำงานของเจนเนอเรชั่นต่างๆ ในองค์กร. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทรรศ. 38(1), 107-137.

(มาโนชน์ บุญทองเล็ก. 2565, พฤษภาคม). สัมภาษณ์โดย ประสิทธิ์ ตึกขาว. ระบบออนไลน์

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2564) จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด 19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

(ยุทธนา อัครเดชานัฏ. 2565, พฤษภาคม). สัมภาษณ์โดย ประสิทธิ์ ตึกขาว. ระบบออนไลน์

(ศุภชัย จันทร์สุวรรณ. 2564, ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ขวัญชนก ถึกสุวรรณ. ระบบออนไลน์

สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์.

(สุรีรัตน์ จีนพงษ์. 2564, ธันวาคม). สัมภาษณ์โดยขวัญชนก ถึกสุวรรณ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2549). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based Learning (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์จำกัด (มหาชน).

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติจำนวนครู/คณาจารย์ ในระบบโรงเรียน จำแนกตามสังกัด ในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติจำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามสังกัด ในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). Gen Z Frist Jopper รุ่นใหม่เพื่อเข้าใจความแตกต่าง. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media.

(อรวรา บัวผา. 2564, ธันวาคม). สัมภาษณ์โดยขวัญชนก ถึกสุวรรณ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Campbell, A. (1997). Core Competency-Based Strategy. Boston: International Thomson Business Press

Cooper, C. (2000). Effective Competency Modeling and Reporting : a Step-by-Step Guide for Improving Individual and Organizational Performance. New York : AMACOM

Cronbach, Lee. J. (1970). Essentials of psychological testing. (3rd ed.) New York: Harper & Row.

Likert, R.A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological. 25(140), 1-55.

Mclagan, P. (1997,May). Competencies: The next generation. Training and Development, 51(5), 40-47.

McCrindle. (2020). Generation Alpha. Retrieved June 6, 2021, from https://2qean3b1jjd1s87812ool5ji-

wpengine.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/Gen-Alpha-2020-digital-1.pdf

World Economic Forum. (2020). Framework for 21st Century Learning, Partnership for 21st Century Learning. Retrieved January 6, 2021, from https://www.weforum.org/agenda/2020/10/top-10-work-skills-of-tomorrow-how-long-it-takes-to-learn-them/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28