การประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาดแบบปากต่อปากเพื่อประเมินวีดิทัศน์โครงการสื่อสารสุขภาพ : กรณีศึกษาวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง

ผู้แต่ง

  • ศิวพร สุกฤตานนท์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตลาดแบบปากต่อปาก, วีดิทัศน์ไวรัล, การสื่อสารสุขภาพ, การบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินวีดิทัศน์ 12 ชิ้นที่เผยแพร่ทางเพจเฟซบุ๊ก“ฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง รพ.สันทรายเชียงใหม่” ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อวิเคราะห์สถิติการใช้งานวีดิทัศน์บนเฟสบุ๊กและวิเคราะห์ลักษณะของวีดิทัศน์ตามกรอบคิดการตลาดแบบปากต่อปากและไวรัลวิดีโอ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มผู้ใช้สื่อ ประกอบด้วยสหวิชาชีพ อสม. ผู้ดูแลและผู้ป่วยจำนวน 24 รายเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อ โครงการพัฒนาระบบการบริการการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางผลิตวีดิทัศน์ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) วีดิทัศน์ชุด “อสม.สุดเก๋า” 7 ตอน เล่าเรื่องให้ความรู้แฝงความบันเทิง 2) วีดิทัศน์ “พจนานุกรม (ภาระ)” ให้ความรู้ เล่าเรื่องประสบการณ์จริง เร้าอารมณ์ 3) วีดิทัศน์“Feeling OK” เล่าเรื่องแบบมิวสิควีดิโอ ประสบการณ์จริง ให้แรงบันดาลใจ และ 4) วีดิทัศน์สั้นให้ความรู้ ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่าวีดิทัศน์ที่เข้าถึงผู้ใช้สูงที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่ Feeling OK (18,900 ครั้ง) วีดิทัศน์สั้นสาธิตคาราโอเกะฝึกพูดและวีดิทัศน์สั้นสาธิตการแปรงลิ้นในจำนวนเท่ากัน (5,900 ครั้ง) พบการมีส่วนร่วมแบบข้อความ (Comments) น้อยกว่าปฏิกิริยาแสดงอารมณ์ผู้ใช้ (Reactions) วีดิทัศน์ที่ศึกษาส่วนใหญ่ขาดคุณลักษณะวีดิทัศน์ไวรัล มีเพียง “Feeling OK” และ “พจนานุกรม” ที่มีคุณสมบัติวีดิทัศน์ไวรัลสูงที่สุดคือ 5 ด้าน แต่ยังพบว่าวีดิทัศน์สั้นมีคุณลักษณะของการตลาดแบบปากต่อปากต่ำกลับมีจำนวนรวมนาทีการรับชมวีดิทัศน์สูงเช่นกัน ผลการสนทนากลุ่มเพื่อประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ใช้ทุกกลุ่มชื่นชอบวีดิทัศน์มากกว่าสื่อรูปแบบอื่นแต่จะสนใจรับชมจนจบหากข้อมูลตรงกับอาการป่วย นอกเหนือจากเฟสบุ๊กผู้ใช้งานเสนอให้เผยแพร่สื่อผ่านกลุ่มไลน์ที่มีอยู่แล้ว ข้อเสนอแนะเพื่อการผลิต    วีดิทัศน์ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ผู้ผลิตควรประยุกต์ใช้ลักษณะของวีดิทัศน์ไวรัล การประเมินวีดิทัศน์ควรใช้ทั้งเกณฑ์จำนวนการเข้าถึงร่วมกับจำนวนรวมของนาทีที่รับชม

References

กรมอนามัย. (2563). คู่มือแนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะกลางในชุมชน (Intermediate Care

in Community). สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2021/01-501420210130143353/60054fe91b86d797f6762422b03ec983.pdf

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ระยะกลาง

Guideline for Intermediate care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตามแผนพัฒนา ระบบบริการสุขภาพ

(Service plan). นนทบุรี: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.

ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ์ และ นำพร สามิภักดิ์ (2564). การประเมินผลระบบการให้บริการการดูแลระยะกลาง (Intermediate Care) ปี 2564. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข.

ชลาทิพย์ ซื่อวัฒนะ, จักรกริช กล้าผจญ, สยาม ทองประเสริฐ, ศิวพร สุกฤตานนท์, วัชรินทร์ อิงคนินันท์, บุษราคัม แก้วประภา, ณัชชา ปลอดภัย, ญาณนันท์ พันธ์ปัญญา, พิมพ์ ศรีสกุล. (2563). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริการการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ระดับแม่ข่ายโรงพยาบาลสันทรายและการเชื่อมโยงสู่เครือข่ายบริการโซนสอง จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). [ม.ป.ท].

ทิฆัมพร ราชวงค์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพและความพึงพอใจในการใช้ชุมชนออนไลน์ด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(1), 166-181.

บุหงา ชัยสุวรรณ (2558). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม: ภาพรวมและกรอบแนวความคิด. วารสารนิเทศศาสตร์และ นวัตกรรมนิด้า. 2(1), 173-197.

ปราณิศา ธวัชรุ่งโรจน์. (2557). การวิเคราะห์คลิปวีดิทัศน์ไวรัลมาร์เก็ตติ้งและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจแบ่งปัน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิพัทธา อินทรักษา. (2560). การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาริสา อานิต้า ฟันเดอรวาวเดอะ. (2557). ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแบ่งปันวิดิโอคลิปสำหรับการตลาดแบบปากต่อปาก (Viral Marketing) โดยใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศศิธร ยุวโกศล และพัชสิรี ชมพูคำ. (2564). เจเนอเรชั่นกับความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้สื่อในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(2), 10-25.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2564). สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย). สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566, จาก https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/ 2021/EBook /414441_20211229135756.pdf

อริสา เล้าสกุล และณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2562). กลยุทธ์การสร้างสรรค์ ทัศนคติ และความตั้งใจในการส่งต่อภาพยนตร์

โฆษณาไวรัลบนสื่อออนไลน์. นิเทศสยามปริทัศน์, 18(24), 51-64.

Ashley, C., & Tuten, T. (2015). Creative Strategies in Social Media Marketing: An Exploratory Study of Branded Social Content and Consumer Engagement. Psychology & Marketing, 32(1), 15-27.

Berger, J., & Milkman, K. L. (2012). What Makes Online Content Viral. Journal of Marketing Research, 49(2), 192–205.

Kostygina, G., Tran, H., Binns, S., Szczypka, G., Emery, S., Vallone, D., & Hair, E. (2020). Boosting Health Campaign Reach and Engagement Through Use of Social Media Influencers and Memes. Social Media + Society. 6(2). Retrieved October 1, 2022, from https://doi.org/10.1177/2056305120912475

Mahoney, L. M., & Tang, T. (2017). Strategic social media: from marketing to social change. Chichester, United Kingdom: Wiley-Blackwell.

Rogers, S. (2014). What fuels a Tweet’s engagement. Retrieved November 1, 2022, from

https://blog.twitter.com/official/en_us/a/2014/what-fuels-a-tweets-engagement.html

Ruben, B. D. (2016). Communication Theory and Health Communication Practice: The More Things Change, the More They Stay the Same1. Health Communication, 31(1), 1-11.

Shen, F., Sheer, V. C., & Li, R. (2015). Impact of Narratives on Persuasion in Health Communication: A Meta-Analysis. Journal of Advertising, 44(2), 105-113.

Tellis, G. J., Macinnis, D. J., Tirunillai, S., & Zhang, Y. (2019). What Drives Virality (Sharing) of Online Digital Content? The Critical Role of Information, Emotion, and Brand Prominence. Journal of Marketing, 83. 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28