รูปแบบการสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาด, การตลาดดิจิทัล, เจเนอเรชั่นแซดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มเจเนอเรชันแซด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มเจเนอเรชันแซด ช่วงอายุ 18-21 ปี ในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 310 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์รูปแบบการเปิดรับสื่อดิจิทัล เนื้อหาที่ได้รับความสนใจ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสื่อสารการตลาดดิจิทัลสำหรับกลุ่มเจเนอเรชันแซด มีการเปิดรับข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านสื่อ Facebook การเปิดรับอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.80 พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและบริการมากที่สุด คือ ช่องทางออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน Shopee คิดเป็นร้อยละ 91.9 ความถี่ในการซื้อสินค้าและบริการรูปแบบออนไลน์ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 87.1 ส่วนของการเปิดรับข้อมูลของสินค้าและบริการ ผ่านทางเทคโนโลยี สื่อออนไลน์ที่สามารถโต้ตอบกับตัวกลุ่มเจเนอเรชันแซดได้สะดวกและรวดเร็ว สนใจในสื่อที่มีความกระชับและชัดเจน เนื้อหาที่มีความยาวประมาณ 10-30 วินาที เป็นช่วงเวลาที่กลุ่มเจเนอเรชันแซดเปิดรับการรับข้อมูลการสื่อสารอยู่ในระดับมากที่สุด เห็นได้ว่าสื่อรูปแบบเก่าไม่ได้รับการให้ความสำคัญ มีแนวโน้มของการเติบโตของแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันที่เป็นช่องทางสื่อสารโดยตรงระหว่างกลุ่มเจเนอเรชันแซดและผู้ผลิตสินค้า ร้านค้า บริษัท หน่วยงาน หรือผู้ประกอบการรายใหญ่ และรายย่อยให้ความสำคัญในการสร้างแอปพลิเคชันมากขึ้น ได้แก่ แอปพลิเคชัน 7-Eleven, Uniqlo, JD Central, Power Buy และการเปิดรับข้อมูลในประเด็นเนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายสนใจในลักษณะของสื่อที่สามารถโต้ตอบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือแบ่งปันข้อมูลใหม่กันในกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ ผ่านโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ (Smart Phone) ซึ่งการเติบโตของโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะที่มีเทคโนโลยีทันสมัย เชื่อมต่อสื่อสารรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการกลุ่มเจเนอเรชันแซด มีความสนใจและติดตามผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อโซเชียล คิดเป็นร้อยละ 70 ผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อโซเชียลจึงเป็นเป้าหมายของผู้ผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้สินค้าและบริการ โดยเรียกรูปแบบนี้ว่าการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลบนสื่อโซเชียล
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). เปิดสถิติใช้ดิจิทัลทั่วโลกไทยติดอันดับโลกเพียบ. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/988061.
จิตรา วรรณสอน. (2562). รูปแบบการตลาดแบบเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี. การประชุมวิชาการระดับชาติ
และนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14, 415 – 423. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ
ทศพล กระต่ายน้อย. (2555). ภาวะผู้นำของนักศึกษาสายสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (รายงานการค้นคว้าอิสระ).
หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นวฤทธิ์ อัคควรกิจ. (2551). กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นเรศ เหล่าพรรณราย. (2560). แนวโน้ม Digital Marketing ปี 2017. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565, จาก https://money.sanook.com/451083/
ภคมน เนตรไสว. (2560). กลยุทธ์การตลาดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Marketing) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน
ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการค้นคว้าอิสระ) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รัฐญา มหาสมุทร. (2559). กลยุทยุทธ์การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดด้านออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มผู้ติดตาม. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(1), 81-83.
ศศิธร ยุวโกศล, และ พัชสิรี ชมภูคำ. (2564). เจเนอเรชั่นกับความคิดเห็นและพฤติกรรมการใช้สื่อในยุคดิจิทัล.
วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 9(2), 10-25.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2565, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014en/survey
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ Gen Z ใช้เน็ตสูงสุดปีแรกชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx
Belch, G. E., & Belch, M. A. (2004). Advertising and promotion: An integrated marketing communications
perspective (6th ed.). New York: McGraw-Hill.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Grail Research. (2011). Consumers of Tomorrow: Insights and Observations About Generation Z. Grail
Research.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and
Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Mowen, J.C., & Minor, M. (1998). Consumer Behavior. Prentice-Hall, Inc., Upper Saddle River.
Schiffman, G., & Kanuk, L. (2000). Consumer Behavior. Prentice Hall. Inc., Englewood Cliff.
Solomon, M. R. (1996). Consumer Behavior (3rd ed). Englewood Cliff, NJ.: Prentice-Hall.
Thumbsupteam. (2016). Using mass communication theory. NJ: Prentice Hall.
We Are Social. (2022). Digital Report 2022. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://wearesocial.com/uk/blog/2022/01/digital-2022/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ