การวิเคราะห์กลยุทธ์การออกแบบภาพยนตร์โฆษณาสินค้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • ปิลันลน์ ปุณญประภา วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภัทธิรา ธีรสวัสดิ์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กลยุทธการออกแบบภาพยนตร์, การโฆษณา, ภาพยนตร์โฆษณา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กลยุทธ์การออกแบบภาพยนตร์โฆษณาสินค้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ออกอากาศในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยด้านกลยุทธ์การออกแบบภาพยนตร์โฆษณาสินค้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่อความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมในภาพยนตร์โฆษณา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายปิดจากผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มตามเขตพื้นที่ จำนวน 6 กลุ่ม จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การออกแบบภาพยนตร์โฆษณาสินค้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ควรมีผลการศึกษาวิจัยรับรองข้อมูลที่นำมาเสนอ (ค่าเฉลี่ย = 4.25, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.80) ในระดับมาก โดยความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมในภาพยนตร์โฆษณา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า (ค่าเฉลี่ย = 4.45, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.80) ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการซื้อสิ้นค้าของผู้ตอบแบบสอบถามแตกต่างกันส่งผลต่อกลยุทธ์การออกแบบด้านการอ้างอิงข้อมูลจากนักสิ่งแวดล้อมหรือนักวิทยาศาสตร์ (P-Value = 0.010) และด้านแนวคิดการออกแบบภาพยนตร์โฆษณา (P-Value = 0.027) แตกต่างกัน 3) ปัจจัยด้านกลยุทธ์การออกแบบภาพยนตร์โฆษณาสินค้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (1) ควรเป็นภาพยนตร์โฆษณาที่สร้างความสมจริงจากภาพถ่าย (2) ควรมีผลการศึกษาวิจัยรับรองข้อมูลที่นำมาเสนอ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมในภาพยนตร์โฆษณา ร้อยละ 38.7 (R-Square = 0.387) ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การออกแบบภาพยนตร์โฆษณาสินค้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ควรมีผลการศึกษาวิจัยรับรองข้อมูลที่นำมาเสนออยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดหลักการพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมไว้ทั้งหมด 5 ประการ ได้แก่ 1) ความโปร่งใส 2) ความเหมาะสม 3) ความน่าเชื่อถือ 4) ความรับผิดชอบ 5) ความชัดเจน โดยมีปัจจัยด้านกลยุทธ์การออกแบบภาพยนตร์โฆษณาสินค้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ 1) ควรเป็นภาพยนตร์โฆษณาที่สร้างความสมจริงจากภาพถ่าย 2) ควรมีผลการศึกษาวิจัยรับรองข้อมูลที่นำมาเสนอ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมในภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงการสร้างจุดจับใจผ่านทั้งสองประเด็นดังกล่าวจะช่วยทำให้ผู้บริโภคสินค้าหรือผู้ชมภาพยนตร์โฆษณาเกิดความสนใจตาเป้าหมายของผลงานโฆษณาได้มากยิ่งขึ้นทั้งจากความสมจริง และข้อมูลจากผลการวิจัยที่นำมาสนับสนุนเรื่องราวต่าง ๆ ที่นำเสนอ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.

กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์. (2555). การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม. For Quality Trend, 18(171), 17-20.

กฤษดา เกิดดี. (2547). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2562). 80 วิธีลดโลกร้อน. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เขมพัทธ์ พัชรวิชญ์. (2554). ศึกษาการออกแบบงานสร้างในภาพยนตร์ไทย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 12(2011), 22-35.

จริยา ปันทวังกูร. (2551). การเขียนบทโฆษณา. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิดาภา ล้อมพิทักษ์ และ ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2565). การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2(20), 16.

ชุมจักร์ สุขสบาย. (2560). การเปิดรับจุดจับใจในงานโฆษณาและทัศนคติต่อโฆษณาสินค้าประเภทความงามภายใน Hashtag บน Twitter. การค้นคว้าอิสระ, วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แน่งน้อย บุญยเนตร. (2545). การโฆษณาโน้มน้าวในอย่างไร. สารภาษาไทย, 1(4), 33-43.

พัฒนา ฉินนะโสต. (2560). การศึกษาการถ่ายภาพยนตร์แบบเส้น 180 องศา กรณีศึกษา: ภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม. วิทยานิพนธ์, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภูริตา บุญล้อม. (2563). Yves Rocher ลดขยะพลาสติกถึง 2,700 ตันต่อปี ตอกย้ำจุดยืนแบรนด์รักษ์โลก ผลิตขวดพลาสติก

รีไซเคิลที่ใช้รีไซเคิลต่อได้ 100%. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://thestandard.co/yves-rocher-cuts-2700-tons-of-plastic-waste-per-year/)

ฤตานนท์ แสนสวย. (2558). การเปิดรับภาพยนตร์โฆษณาในรูปแบบ In-stream ad บน Youtube และพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ชม. การค้นคว้าอิสระ, วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดิษฐ์ เมธยาภิรมย์. (2561). การเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมสังคม ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560. วิทยานิพนธ์,

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Brandbuffet. (2018). 6 เทรนด์ผู้บริโภค 2020 ยอมจ่ายสินค้าราคาแพง หากเป็นแบรนด์ “รักษ์โลก”. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/11/tetra-pak-research-the-six-new-segments-of-consumers-concern-the-environment/

Dailynews. (2018). "อินทนิล" ผู้นำ ECO BRAND ปลุกสำนึกรักษ์โลก. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://d.dailynews.co.th/article/669121/

Positioningmag. (2018). “เอดีเอ” เปิดกลยุทธ์เขย่าธุรกิจโฆษณาเมืองไทย แนะวิธีเจาะตลาดแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีดาต้า. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://positioningmag.com/1244605

RYT9. (2021). The Film Factory บริษัทภาพยนตร์โฆษณายักษ์ใหญ่ของไทย รุกตั้ง 6 บริษัทรองรับลูกค้ายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.ryt9.com/s/iqml/3199609

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28