การเรียนรู้ด้านสื่อและการสื่อสารของอินฟลูเอนเซอร์ในกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา เปี่ยมการุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สื่อและการสื่อสาร, เจเนอเรชั่นแซด, ผู้มีอิทธิพล, อินฟลูเอนเซอร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยภายใต้ชื่อ “ทัศนคติและแนวทางของกลุ่ม Generation Z ที่มีต่อเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ด้านสื่อและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาสู่การเป็น Online Influencers” เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ข้อค้นพบจากการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพพบว่า พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียและกิจกรรมดิจิทัลของกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบกับเจเนอเรชั่นอื่น การสื่อสารดิจิทัลมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมที่แตกต่างไป ด้วยความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีและเสพข้อมูลจากทั่วโลกผ่านทางสมาร์ทโฟน กลุ่มเจเนเรชั่นแซดจึงกลายเป็นทั้งผู้เสพและผู้สร้างเนื้อหาในคนเดียวกัน บริบทนี้เองนำมาสู่แนวคิดเรื่องการเป็นผู้มีอิทธิพลหรืออินฟลูเอนเซอร์ในโลกออนไลน์ ที่ซึ่งได้กลายเป็นปรากฏการณ์และเป็นที่สนใจของกลุ่มนี้

ด้านใช้สื่อ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำทุกวันมากถึง 95.71 % โดยแพลตฟอร์มที่นิยมใช้มากที่สุดคือ TikTok มากถึง 23.57 % กิจกรรมที่นิยมทำส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ถึง 33.81 % ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่มนี้ให้ความสนใจกับการสร้างคอนเทนต์ในแบบของตนเอง นำมาสู่การต่อยอดในการเป็นผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ เพราะถือเป็นกระบวนการสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จักผ่านการเผยแพร่เนื้อหาไปสู่วงกว้าง ด้านทัศนคติพบว่า ส่วนใหญ่เลือกความน่าสนใจ น่าติดตาม ตามด้วยการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีสาระและประโยชน์และเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต

ทักษะสำคัญในการเป็นผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ คือทักษะการสื่อสารและการเล่าเรื่องที่แข็งแกร่งมีประสิทธิภาพและจริงใจ มีส่วนร่วมในการสื่อสารกับผู้ติดตาม ในแง่ของการพัฒนาทักษะด้านสื่อและการสื่อสารเพื่อมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์  สิ่งสำคัญคือต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ประเภทของเนื้อหา การติดตามเทรนด์ใหม่ๆ รวมทั้งการสร้างแบรนด์บุคคลที่น่าเชื่อถือและเข้าถึงได้ โดยสรุปแล้ว ความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องสื่อและการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์และการตลาดอินฟลูเอนเซอร์มีบทบาทสำคัญมากขึ้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คนกลุ่มนี้ต้องการพัฒนาทักษะเพื่อสร้างโอกาสและประสบความสำเร็จ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวคิดพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ. (2565). “แรงจูงใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ของเจเนอเรชั่นแซด”, วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 10(2), 88-104.

เชิงชาญ กวีวุฒฑ์ และอิทธิ ยศสุนทร. (2562). Influencer Marketing ฮอตทั่วเอเชีย แบรนด์ไหนไม่มีไม่ได้แล้ว. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565, จาก https://www.marketingoops.com/media-ads/influencer-marketing-popularity/

ภัทรนาฏ จันทรรัตน. (2562). อิทธิพลของผู้นําทางความคิดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ บํารุงผิวหน้า (Facial Skincare) ของผู้บริโภคกลุ่มวัยทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2565). เจาะเทรนด์โลก 2023 : CO-TOPIA. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน).

Mcquail, D., & Windahl, S. (1993). Communication Models for the study of mass communication (2nd edition) NewYork: Longman Publishing.

Flashman, G. (2020). Powerful B2B Content: Using Brand Journalism to Create Compelling and Authentic Storytelling (1st edition). London, United Kingdom ; New York, NY: Kogan Page.

Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York, NY, US: Free Press.

Champion, J. (2018). Inbound Content: A Step-by-Step Guide To Doing Content Marketing the Inbound Way (1st edition). Hoboken: Wiley.

Kartajaya, H., Setiawan, I., & Kotler, P. (2021). Marketing 5.0: Technology for Humanity (1st edition). Hoboken, New Jersey: Wiley.

Robinson, J. G. (2019). The Audience in the Mind’s Eye: How Journalists Imagine Their Readers. Retrieved March 7, 2021, from Columbia Journalism Review website: https://www.cjr.org/tow_center_reports/how-journalists-imagine-their-readers.php/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28