ความเป็นไทยที่ถูกเลือกสรรในภาพยนตร์พริกแกง

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ อนันตสมบูรณ์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, วัฒนธรรม, พริกแกง, ความเป็นไทย

บทคัดย่อ

บทความ “ความเป็นไทยที่ถูกเลือกสรรในภาพยนตร์พริกแกง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดคุณค่าของความเป็นไทยจากภาพยนตร์ โดยมุ่งนำเสนอความหมายของความเป็นไทยที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องพริกแกง ด้วยการใช้แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมของเรย์มอนด์ วิลเลียมส์และแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นไทยที่ถูกประกอบสร้างโดยรัฐ เป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งพบว่านิยามความเป็นไทยที่ถูกเลือกสรรในภาพยนตร์พริกแกงมีความตายตัวและถูกประกอบสร้างโดยรัฐมาช้านาน ตั้งแต่การเลือกสรรอาหารเพื่อนิยามความเป็นไทยที่แสดงถึงความมีอารยะ มีวิธีการปรุง วิธีการรับประทานที่ซับซ้อนและเป็นขั้นตอน อีกทั้งต้องมีประวัติหรือที่มาอันยาวนาน โดยไม่ได้กล่าวถึงอาหารไทยพื้นบ้านอื่น ๆ ให้คุณค่ากับความเป็นไทยที่เน้นการมีลำดับชั้นในสังคม และสิ่งที่มีอำนาจในการกำหนดความเป็นไทยคือความอาวุโส ซึ่งผู้ที่อยู่ในฐานะต่ำกว่าจะต้องอยู่ในกรอบความเป็นไทยเดียวกันจึงจะถูกให้คุณค่าและยอมรับ ผู้ที่อยู่นอกความเป็นไทยที่ยึดถือจะต้องถูกกำจัดออกไป

References

กฤษฏิญา ไชยศรี. (2566). ประวัติศาสตร์ฉบับย่อยของ ‘การโฆษณาชวนเชื่อ’ ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://groundcontrolth.com/blogs/38

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). การศึกษาสื่อสารมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical theory). กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกร เวียงอินทร์. (2559). ฝ่าดงฟิล์ม: พริกแกง อาหารไทยไทยไทยไทยไทยไทยไทย ฯลฯ (8 ล้านครั้ง). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://www.gqthailand.com/culture/article/prigkang-movie

ประวิทย์ แต่งอักษร. (2551). มาทำหนังกันเถอะ ฉบับตัดต่อใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทไบโอสโคป พลัส จำกัด.

ปิยะกุล เลาวัณย์ศิริ. (2529). การวางมุมกล้อง. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.

ผู้จัดการออนไลน์. (2559). หั่นเหี้ยนMVทศกัณฑ์ฉากขี่เจ็ทสกี-นั่งตุ๊กๆ-แคะขนมครก. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9590000095783

รายทาง ทีมงานนิตยสารต่วยตูน. (2560). จากก้นครัวไทยไปสู่ครัวโลก. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.thairath.co.th/news/895402

วัชรพล พุทธรักษา. (2549). รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจนำ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพล พุทธรักษา. (2550). แนวความคิดการครองอำนาจนำ (Hegemony) ของกรัมชี่ (Gramsci) : บททดลองเสนอในการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทย. กรุงเทพ.

วาจวิมล เดชเกตุ. (2555). การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 8-15 : หน่วยที่ 13 การตัดต่อภาพยนตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2548). การเมืองและการสร้างความเป็นไทย โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2550). การสร้าง “ความเป็นไทย” กระแสหลักและ “ความจริง” ที่ “ความเป็นไทย” สร้าง. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิรินาฏ ศิริสุนทร. (2556). วัฒนธรรมอาหารไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผส.).

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2560). อาหารไทยมาจากไหน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์นาตาแฮก.

อนุธีร์ เดชเทวพร. (2555). “ความเป็นไทย” หลายหน้า: การแย่งชิงและแบ่งปันพื้นที่นิยาม. Veridian E-Journal, 5(3). 87-105.

อุสุมา สุขสวัสดิ์. (2561). รัฐกับศักยภาพของภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(1), 115-125.

alan_babyboy. (2566). สูตรแกงป่าไก่ พริกแกง 2516. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://www.tiktok.com/@alan_babyboy/video/7226939917245418758

Bioscope Magazine. (2560). สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26 : สรุปรายได้ Box Office หนังไทยปี 2559. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://movie.mthai.com/bioscope/208741.html

Slashmeplease. (2560). Review: พริกแกง (อยากกระโดดถีบจอจริงๆ...). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://pantip.com/topic/35480916

Ryth9. (2558). (ร่าง) ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่โลก พ.ศ. 2559-2564. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.ryt9.com/s/cabt/2106681

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28