ปัจจัยด้านการสื่อสาร และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมงานวิ่งมาราธอนในรูปแบบเวอร์ชวลรัน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา ทรัพย์สินวิวัฒน์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านการสื่อสาร, วิ่งมาราธอน, เวอร์ชวลรัน, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยด้านการสื่อสาร และทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมงานวิ่งมาราธอนในรูปแบบเวอร์ชวลรัน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19” เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรเพศชายและหญิง อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยโดยมีการเก็บแบบสอบถามผ่านช่องทาง online จำนวน 400 ชุด ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะประชาชนที่เคยเข้าร่วมงานวิ่งมาราธอนในรูปแบบที่เคยเสียค่าใช้จ่าย

            ผลการวิจัยพบว่า มากกว่าร้อยละ 50 นักวิ่งเคยเสียค่าใช้จ่ายการเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนทั้งในรูปแบบการวิ่งปกติและรูปแบบเวอร์ชวลรัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเดียวกัน โดยกลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนเฉลี่ย 4.6  ปี ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการวิ่งมาราธอนในรูปแบบที่เสียค่าใช้จ่ายเกินครึ่งเป็นเพศชาย โสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้างเอกชน/ พนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,001 บาทขึ้นไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม (socio-economic status) ที่ดี มีกำลังซื้อสูง

            ปัจจัยการสื่อสารที่เปิดรับอยู่ในระดับมากที่มีผลในการสมัครวิ่งมาราธอนรูปแบบเวอร์ชวลรัน คือ การสื่อสารภายในตนเอง (Intrapersonal communication) กล่าวคือ ตัดสินใจสมัครวิ่งด้วยตนเอง เพราะการวิ่งมาราธอนเป็นการใช้ความอดทนและความกล้าหาญในการเอาชนะขีดความสามารถของตนเองในการตั้งเป้าหมายแต่ละครั้ง  ขณะที่ปัจจัยช่องทางการสื่อสารที่มีต่อการสมัครวิ่งมาราธอนรูปแบบเวอร์ชวลรัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเฟซบุ๊กเป็นช่องทางการสื่อสารช่องทางเดียวที่มีผลต่อการสมัครวิ่งมาราธอนรูปแบบเวอร์ชวลรันที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ เว็บไซต์ และอินสตาแกรมเป็นสื่อที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับอยู่ในระดับปานกลาง

            นอกจากนี้ยังพบว่า การแพร่กระจายของโควิด-19 ย่อมส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างเคยกระทำในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุดในประเด็น สถานการณ์โควิด-19 มีผลกับการวิ่งมาราธอนในรูปแบบปกติ เนื่องจากผู้ที่เคยสมัครวิ่งมาราธอนในรูปแบบเวอร์ชวลรันล้วนแต่เคยสมัครเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอนทั้งในรูปแบบการวิ่งปกติ ทำให้ต้องปรับตัวตามสถานการณ์โดยการสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน ซึ่งผู้ที่เคยสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน จะเห็นด้วยมากต่อองค์ประกอบด้านชื่อเสียงของผู้จัด เหรียญรางวัลโดนใจ เสื้องานสวย และระบบการส่งผลวิ่งไม่ยุ่งยาก มากกว่าผู้ที่ไม่เคยสมัครวิ่ง ในรูปแบบเวอร์ชวลรัน โดยองค์ประกอบเงินรางวัล เป็นองค์ประกอบเดียวที่ผู้ที่ไม่เคยสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน เห็นด้วยมากกว่า ผู้ที่เคยสมัครวิ่งในรูปแบบเวอร์ชวลรัน

References

กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์

กฤชนัท แสนทวี. (2566). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารในภาวะวิกฤต COVID-19 จากหน่วยงานภาครัฐไทยของประชาชน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 11(1), 69-81

ดลยา เคราะห์ดี. (2555). การใช้ปัจจัยในการตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันการวิ่งงานสแตนดารด์ ชาร์เตอร์ กรุงเทพมาราธอนของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

ดวงพร เลี้ยงรักษา, วิชากร เฮงษฎีกุล และ พุฒิธร จิรายุส. (2021). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่ง แบบมินิฮาล์ฟมาราธอนในสวนพุทธมณฑล. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 111-119.

มติชนสุดสัปดาห์. (2563). เปิดภาพงานวิจัย เตือนคนชอบวิ่ง-ปั่นในสวน “โควิด-19″แพร่ไกล 20 เมตร. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_294271

รสิกา จันทร์โชติเสถียร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่งมาราธอน Run For Life ของประชากร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, เอกบริหารธุรกิจ.

ลลิตา บงกชพรรณราย. (2560). ปัจจัยด้านการสื่อสารและทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

วรินทร์ สุธรรมสมัย และโมไนยพล รณเวช. (2559). การใช้สื่อออนไลน์ในการแสวงหาข้อมูล และพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกี่ยวกับการวิ่งมาราธอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.

Bltbangkok. (2018). คนไทยแห่วิ่ง 15 ล้านคน ดันงานวิ่งพุ่งนับพัน – เงินสะพัด 5 พันล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565,จาก https://www.bltbangkok.com/lifestyle/4497/#:~:text=ประเทศไทยมีนักวิ่ง%2015,ที่ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุน

Mazzini Muda Rosidah Musa and Lennora Putit. (2010). Determinants of Attitude toward Celebrity-Endorsed Advertisements: A Conceptual Model. International Conference on Science and Social Research (CSSR 2010). Kuala Lumpur: Faculty of Business Management Universiti Teknologi MARA Shah Alam.

Sima Zach, et al., (2015), Motivation dimensions for running a marathon: A new model emerging from the Motivation of Marathon Scale (MOMS). Journal of Sport and Health Science, 6(3), 302-310.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26