การศึกษาอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ

ผู้แต่ง

  • วิมลิน สันตจิต คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • สามารถ จันทนา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • จุฑาทิพย์ นามวงษ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ศันสนีย์ อาจนาฝาย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, วังสวนบ้านแก้ว, เครื่องประดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วเพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องประดับ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาข้อมูลและรวบรวมองค์ความรู้พิพิธภัณฑ์วังสวนบ้านแก้วจังหวัดจันทบุรี 2) ออกแบบเครื่องประดับที่สื่อถึงอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วจังหวัดจันทบุรี มีวิธีการดำเนินงาน โดยการศึกษาข้อมูล เอกสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้ว เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือในการวิจัยแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก กลุ่มที่ 2 นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมวังสวนบ้านแก้ว จำนวนประชากรเฉลี่ย 360 คน โดยกำหนดเก็บกลุ่มตัวอย่างจำนวน 186 คนตามวิธีการสุ่มจำนวนประชากรจากตารางเคร็จซี่และมอร์แกน กลุ่มที่ 3 ประเมินแบบจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องประดับ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความคิดเห็นต่อรูปแบบเครื่องประดับอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้ว พบว่าอัตลักษณ์วังสวนบ้านแก้วที่ผู้คนรับรู้ได้มากที่สุดคือสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีที่มีความสัมพันธ์กับสถานที่ซึ่งเป็นพระราชฐานส่วนพระองค์ เป็นส่วนที่ผู้คนระลึกถึงที่อยู่คงทนกับวังสวนบ้านแก้วและองค์ความรู้ที่มีความโดดเด่น แบ่งได้เป็น 4 ประการ คือ ประวัติศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สถาปัตยกรรม หัตถกรรมภูมิปัญญาและสวนส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผ่านการรับรู้จากการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์และการลงพื้นที่ ผลการวิจัยรูปแบบเครื่องประดับจากแบบร่างทั้งหมด 3 ชุดซึ่งประกอบไปด้วย สร้อยพร้อมจี้ สร้อยข้อมือ พินกลัดเสื้อ คัดเลือกโดยเกณฑ์การออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าแบบร่างที่ 2 พลวัตแห่งความรู้ Dynamic of knowledge มีความเหมาะสมมาก ค่าเฉลี่ย = 4.33 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.57

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2555). สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2555). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

ธนกฤต ใจสุดา, ภรดี พันธุภากร และ พรพิมล พจนาพิมล. (2562). เครื่องประดับอัตลักษณ์จันทบุรี : การศึกษาอัตลักษณ์เพื่อพัฒนารูปแบบเครื่องประดับในเชิงพาณิช. วารสารนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 191-192.

ธนกฤต ใจสุดา. (2564). การออกแบบเครื่องประดับจากมรดกทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สาวิการพิมพ์.

มิวเซียมไทยแลนด์. (2563). พิพิธภัณฑ์วังสวนบ้านแก้ว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.museumthailand.com/th/museum/wangsuanbankaew

วังสวนบ้านแก้ว. (2560). ข้อมูลวังสวนบ้านแก้ว. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565,

จาก http://www.wangsuanbankaew.rbru.ac.th.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2526). การออกแบบ. กรุงเทพฯ : วิฌวลอาร์ต.

วัฒนะ จูฑะวิภาค. (2545). การออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณิ มหาวิทยาลัย.

ศิบดี นพประเสริฐ. (2559). สวนบ้านแก้ว. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php

สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน. (2558). พระราชประวัติสเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี. (2543). พระมิ่งขวัญรำไพพรรณี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2555). อัตลักษณ์ไทย. ปทุมธานี: สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การออกแบบและพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาต, 28(3). 82-103.

สุพริศร์ สุวรรณิก. (2565). การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/marketing/2350736

อรพินท์ พานทอง. (2546). การศึกษาความเป็นไทยเพื่อประยุกต์ใช้ในงานออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เหมือนฝัน คงสมแสวง. (2564). เอกลักษณ์ตราสินค้า : วังสวนบ้านแก้ว. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(1). 77-88

Maurice P Galli, Nina Giambelli, & Fanfan, li. (1994). The art of jewelry design. 1st edition. United Kingdom: Schiffer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26