กลวิธีการสื่อสารในบริบทเฉพาะของพรรคไทยสร้างไทย
คำสำคัญ:
กลวิธีการสื่อสาร, บริบทเฉพาะ, พรรคไทยสร้างไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสื่อสารในบริบทเฉพาะของพรรคไทยสร้างไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การปราศรัยต่อตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อรับสมัครสมาชิกเครือข่ายร่วมพลักดันนโยบายบำนาญประชาชนเดือนละ 3,000 บาท ณ พื้นที่เขตเลือกตั้งแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลาประมาณ 15.00 น. ถึง 17.00 น. ด้วยแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร แนวคิดกลวิธีทางภาษา และแนวคิดการตลาดทางการเมือง ผลการวิเคราะห์พบว่ากลวิธีการสื่อสารในบริบทเฉพาะของพรรคไทยสร้างไทยทั้งในมิติบริบท มิติภาษา และมิติกระบวนการมีความหลากหลาย ซึ่งผ่านกระบวนการปรับใช้และเลือกใช้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ฯลฯ นอกจากนี้กลวิธีการสื่อสารในมิติต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นยังสามารถสร้างการรับรู้และโน้มน้าวจิตใจแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพและถือเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ผู้สมัคร สส.เขต ในพื้นที่กรณีศึกษาสามารถชนะการเลือกตั้งได้อย่างมีนัย
References
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา, การดา ร่วมพุ่ม, และมาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2562). สื่อแวดล้อม นิเวศสื่อที่ดีเพื่อส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ Media Ecosystem. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566, จาก https://www.thaimediafund.or.th/wp-content/uploads/2021/04/MediaEcosystem.pdf
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ : แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทนา นันทวโรภาส. (2563). การสื่อสารการเมือง : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนครศรีอยุทยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2564). การศึกษาการสื่อสารของพรรคการเมืองผ่านแนวคิดเรื่องการตลาดการเมือง (Political Marketing) เพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองไทย: กรณีศึกษาการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565, จาก https://kpi-lib.com/library/en/books/kpibook-28630/
พรรคไทยสร้างไทย. (ม.ป.ป.). คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565, จาก https://thaisangthai.org/sudarat-keyuraphan/
พรรคไทยสร้างไทย. (ม.ป.ป.). ติดตามข่าวสาร. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2565, จาก https://thaisangthai.org/articles/news
ยุทธพร อิสรชัย. (2549). อินเทอร์เน็ตกับการเมืองไทย. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2(3):66-75. สืบค้น เมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/IT_Journal/article/view/74097/59821
วิโชติ วัณโณ. (2555). พฤติกรรมการเมือง. ม.ป.ท.: ม.ป.พ. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2565, จาก http://e-book.ru.ac.th/ebook_files/POL2418/mobile/index.html#p=235
โศรยา วิมลสถิตพงษ์. (2549). กลวิธีทางภาษาในการวิจารณ์การเมืองทางอ้อมในบทความแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13357
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2565). ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2565, จาก https://www.ect.go.th/ect_th/th/db_119_ect_th_download_20/
อริน เจียจันทร์พงษ์. (2565). กระบวนการทางการตลาดและการสื่อสารการเมืองของพรรคการเมืองไทย: ศึกษาการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 28 ของประเทศไทย (วันที่ 24 มีนาคม 2562). วารสารนิเทศศาสตร์. 40(3), 123-153. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/252040/173744
อรุโณทัย วรรณถาวร. (2565). กระบวนทัศน์การเคลื่อนย้ายใหม่ กับการศึกษาการเคลื่อนไหวทางการเมืองดิจิทัล ในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารการสื่อสารมวลชน. 10(1), 92-122. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/253055/174346
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ