การศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพิชญา จันทร์ลอย นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ประภัสสร สมสถาน หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

ทักษะสื่อสาร, แนวทางการพัฒนาทักษะสื่อสาร, ตลาดแรงงานยุคศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี  2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี โดยงานวิจัยฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน สามารถแสดงผลการวิจัยได้ดังนี้ 

   ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี พบว่า ด้านเพศ ของนักศึกษาปวช. พบว่า เพศชาย จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 55.0 รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 45.0 ตามลำดับ ด้านระดับการศึกษา พบว่า ระดับ ปวช. จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 80.0 รองลงมาเป็นปวส. จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 20.0 ตามลำดับ และด้านอายุของนักศึกษาปวช. เฉลี่ยเท่ากับ 18.07 ปี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.699 ส่วนนักศึกษาปวส. อายุเฉลี่ยเท่ากับ 20.05 ปี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.705

   ทั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกด้านที่สภาพปัญหาของทักษะด้านการสื่อสารของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดมาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21  ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง โดยนำแนวทางที่สร้างขึ้นไปดำเนินการสนทนากลุ่ม พบว่า การพัฒนาทักษะด้าน

การสื่อสารด้วยการพูดที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างในวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีสามารถทำได้ผ่านกิจกรรมที่มีเป้าหมายในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร ได้แก่ 1. การเสริมสร้างความมั่นใจ 2. การฝึกฝนการใช้ภาษาเชิงวิชาการ 3. การสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ที่เป็นไปได้ 4. การใช้เทคโนโลยี 5. การฟังและตอบ 6. การสร้างสรรค์ 7. การบันทึกและการวิเคราะห์ 8. การสนับสนุนกลุ่ม 9. การให้ข้อคิดเห็นและประเมิน และ 10. การทบทวนและปรับปรุง ในส่วนของการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารที่เน้นความตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้องของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างในวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ควรจัดกิจกรรม ได้แก่ 1. การอ่านและวิเคราะห์ข้อมูล 2. การฝึกเขียนรายงาน 3. การอธิบายเนื้อหา 4. การสนับสนุนการโต้เถียงและการวิจารณ์ 5. การนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ 6. การออกแบบโครงการ 7. การเรียนรู้ผ่านแบบจำลองหรือการจำลองสถานการณ์ 8. การประเมินความถูกต้องของข้อมูล 9. การสนับสนุนการอ่านและวิจัย และ 10. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21  ของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้างวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ได้แก่ ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้อง พบว่า ผู้ประกอบการ จำนวน 5 คน และคณาจารย์ด้านภาษาไทยที่สอนในวิทยาลัยเทคนิคมีบุรี จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน ได้มีความเห็นที่ตรงกันว่า การประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารเพื่อรองรับตลาดแรงงานศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสารด้วยการพูดในถ้อยคำอันเหมาะสม และด้านการตระหนักถึงเนื้อหาและความถูกต้องของนักศึกษาสาขาวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เพื่อยืนยันความเหมาะสมในการนำไปใช้จริง นี้ มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). นโยบายอาชีวศึกษา (นโยบายผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ). สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2565, จาก https://www.moe.go.th/

ฑิตยา ปิยภัณฑ์. (2557). ค่านิยมดิจิทัลกับพฤติกรรมด้านการสื่อสารออนไลน์ของเด็กและเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรทัศน์ วัฒนชีวโนปกรณ์, จักรกฤษณ์ โปณะทอง, และ จตุพล ยงศร. (2563). The Analysis of Factors of Communication Skills of Undergraduate Students. Journal of Research and Curriculum Development, 10(2), 70-89.

วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี. (2563). รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2565). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 256, จาก https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/21stcenturyskills.html.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf.

อนรรฆอร บุรมัธนานนท์. (2565). การพัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้บทบาทสมมติสำหรับนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 10(1), 101-108.

Berlo, David K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.

Bozkurt, A., & Sharma, R. C. (2020). Education in normal, new normal, and next normal: Observations from the past, insights from the present and projections for the future. Asian Journal of Distance Education, 15(2), i-x.

Genç, R. (2017). The importance of communication in sustainability & sustainable strategies. Procedia Manufacturing, 8, 511-516.

Harrow, A. (1972). A taxonomy of psychomotor domain: a guide for developing behavioral objectives. New York: David McKay.

Radovic Markovic, M., & Salamzadeh, A. (2018). The Importance of Communication in Business Management, The 7th International Scientific Conference on Employment, Education and Entrepreneurship, Belgrade, Serbia. 7, 11-28.

Xie, X., Siau, K., & Nah, F. F. H. (2020). COVID-19 pandemic–online education in the new normal and the next normal. Journal of information technology case and application research, 22(3), 175-187.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26