การศึกษาการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับ ความทรงจําของ ผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ต่อประวัติศาสตร์ไทยสมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์สารคดี, 6 ตุลา, โรคอัลไซเมอร์บทคัดย่อ
การศึกษาการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ต่อความทรงจําประวัติศาสตร์สมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ผ่านการศึกษาจากการผลิตภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “นิทานจากป่า (Comrade’s tales)” ถือเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการสัมภาษณ์ของผู้มีประสบการณ์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา อย่าง เทพศิริ สุขโสภา ศิลปินแห่ง ชาติในสาขาวรรณศิลป์ อีกทั้งยังเป็นผู้เขียนหนังสือนิทานที่ ได้เข้าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อรวบรวม ข้อมูลก่อนที่จะมีอาการอัลไซเมอร์ และได้พบว่าประวัติศาสตร์ กลับถูกปกปิดและบิดเบือนโดยงานวิจัยการสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการ สร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ ต่อความทรงจํา ประวัติศาสตร์สมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 2) เพื่อให้คนตระหนักถึงการสร้าง ภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหา เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยมากขึ้น งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดีแบบมีส่วนร่วม (Participatory Documentary) ซึ่งเป็นสารคดีประเภทที่ผู้ผลิตภาพยนตร์เข้ามามีบทบาทในสารคดีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น มีเสียงสัมภาษณ์ของผู้ผลิตในผลงาน เป็นต้น
ผลการวิจัยพบว่า การผลิตภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับผู้มีภาวะอัลไซเมอร์ต่อความทรงจําประวัติศาสตร์สมัย 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มีความยากลำบากในการเก็บข้อมูล และตัดต่อ เนื่องจากผู้ที่มีภาวะอัลไซเมอร์จะให้สัมภาษณ์เรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ ทำให้การเก็บข้อมูลในระยะเวลาอันสั้นนั้นทำได้ยาก และเมื่อได้ข้อมูลมาปริมาณน้อยก็จะส่งผลให้ มีปัญหาในการตัดต่อภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยการสร้างสรรค์ภาพยนตร์สารคดี และทำให้ผู้ชมตระหนักถึงการสร้างภาพยนตร์สารคดี ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย มากขึ้น
References
Bill Nichols, Introduction to Documentary (Bloomington, Indiana: Indiana University Press, 2001), p. 183
Critic Speaks Film Series.Pare Lorentz Center. (2015). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566, จาก http://www.parelorentzcenter.org/about-us/criticspeaks-film-series
Production for Film (Textbook) (เอกสารประกอบรายวิชาการถ่ายภาพยนตร์เพื่องานภาพยนตร์) Pinitkha, S. (n.d.). สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566, จาก http://202.29.22.164/e-learning/cd-1455/SOC43/topic7/linkfile/ print5.html.
“Thai Military Take Power After Police Battle Protesters”. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566. จาก http://query.nytimes.com/mem/archive-free/pdf? res=9405E6D8143EE334BC4F53DFB 667838D669EDE
ชญานุช วีรสาร. (2560). การผลิตภาพยนตร์สารคดีด้วยการเล่าเรื่องด้วยภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 37(2), 19-30.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (2561). เข้าใจอัลไซเมอร์เมื่อสมองเสื่อมไม่ใช่แค่เรื่องความจำ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566, จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2018/alzheimer-disease
ความทรงจำ/ความเงียบงันของประวัติศาสตร์บาดแผล ความอิหลักอิเหลื่อเรื่องการสังหารหมู่ 6 ตุลาคม 2519. ธงชัย วนิจจะกูล. 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง. ฟ้าเดียวกัน. 2558
ฤาจะเลือนลบกลบสิ้น 40 ปี “6 ตุลา 19” บันทึกแห่งเหตุการณ์ ‘ลืมไม่ได้-จำไม่ลง’. มติชนรายวัน. เชตวัน เตือประโคน. 6 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_310847
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ