กระบวนการต่อยอดผลงานวิจัยนวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย “History of Art… การเดินทางของศิลปะ” สู่การสร้างงานเชิงพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • สุภิญญา สมทา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์ศิลป์, นวัตกรรม, กระบวนการต่อยอดผลงานวิจัย, เชิงพาณิชย์, ศิลปศึกษา

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการต่อยอดผลงานวิจัยสู่การสร้างงานเชิงพาณิชย์ ในการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ให้เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ สืบเนื่องจากงานวิจัยเดิม 4 ระยะ ได้แก่ ระยะการศึกษาค้นคว้าและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะการสร้างนวัตกรรม ระยะการทดลองใช้ และเป็นการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาในระยะที่ 4 คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพันธกิจเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญใน 3 สาขาวิชา ได้แก่ ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านนวัตกรรม และด้านการสอนศิลปะในโรงเรียนประถม และเด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 10 – 12 ปี จำนวน 10 คน คัดเลือกด้วยวิธีอาสาสมัคร การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัย แบบวัดทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพนวัตกรรม ด้วยแบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม ผลการวิจัยพบว่า ประการแรกนวัตกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมสูงขึ้นก่อนเรียน มีความพึงพอใจในนวัตกรรมในระดับมากที่สุด และมีความรู้ด้านวัฒนธรรม รวมทั้งมีความชื่นชอบ สนุก และได้รับความรู้ในการใช้นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน ในการประเมินคุณภาพนวัตกรรม พบว่านวัตกรรมมีข้อดี ในเรื่องการรวบรวมเนื้อหา เนื้อหาเหมาะสมสำหรับผู้เรียน มีการออกแบบที่นำสมัย เชื่อมโยงให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ประการที่สอง การเผยแพร่ผลิตภัณฑ์และพันธกิจเชิงพาณิชย์ นวัตกรรมประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ 1) หนังสือฉบับพิมพ์ จำนวน 76 หน้า พิมพ์ 4 สี ที่สำนักพิมพ์จุฬาฯ วางจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์ และศูนย์หนังสือจุฬาฯ ในราคาเล่มละ 490 บาท 2) หนังสือฉบับออนไลน์ จำนวน 23 หน้า 3) ชุดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 6 ชุด ขนาด 30X20 เซนติเมตร วางจำหน่ายทางช่องทางออนไลน์ ในราคากล่องละ 390 บาท 4) เว็บไซต์โครงการ 5) คู่มือการใช้นวัตกรรม 6) ของที่ระลึก ได้แก่ สมุดบันทึก และสติกเกอร์

References

ณัชชา เจริญชนะกิจ และขนบพร แสงวณิช. (2564). การสอนศิลปะปฏิบัติด้านกราฟิกดีไซน์ผ่านระบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(2), 112-123.

พงศ์เทพ ทรงคาศรี (ม.ป.ป.). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (4P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรในจังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/konkean01_26052022/6227951836.pdf.

พัชรกร สินสมบูรณ์ และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2562). กระบวนการต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 15(3), 117-128.

มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2545). ศิลปศึกษาแนวปฏิรูปฯ ความเป็นมา ปรัชญาหลักการ วิวัฒนาการด้านหลักสูตรทฤษฎีการสอนและการค้นคว้าวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ และปิยะนันท์ พรึ่งน้อย. (2559). นวัตกรรมการศึกษาในการพัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 34(3), 55-78.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ. 33(128), 49-65.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2566). ยุทธศาสตร์องค์กร พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก https://nrct.go.th/file/Strategis/Strategis-NRCT66-70.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). รายงานการศึกษาเบื้องต้น: เศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.

สิริกาญจน์ พูนทรัพย์ และไชยพศ แจ่มใส. (2553). การศึกษากลยุทธ์การจัดการรูปแบบทางการตลาดสำหรับการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มนิติบุคคล กรณีศึกษา บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, https://scholar.utcc.ac.th/server/api/core/bitstreams/9bf87b35-782f-43d2-8a3e-2c3dbb527e90/content.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุภิญญา สมทาและอินทิรา พรมพันธุ์. (2565). การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ. 23(1), 93-108.

Bandarian, R. (2007). From Idea to Market in RIPI: An Agile Frame for NTD Process. Journal of Technology Management & Innovation. 2(1), 25-41

Fritz, W. (1989). Determinants of Product Innovation Activites. European Journal of Marketing. Vol. 23(10), 32-43.

Liu, Z., Mu, R., Hu, S., Li, W., Wang, S. (2018). Intellectual Property Protection, Technological Innovation and Enterprise Value-An Empirical Study on Panel Data of 80 Advanced Manufacturing SMEs. Cognitive Systems Research. 52, 741-746.

Piaget, J. (1936). Origins of intelligence in the child. London: Routledge & Kegan Paul.

Ross, J. (2005). The Promise of Lincoln Center Institute from the Perspective of a New York City Dean. In M. F. Holzer & S. Noppe-Brandon (Eds.), Community in the making: Lincoln Center Institute, the arts, and teacher education (pp. 22–32). Teachers College Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31