การศึกษารูปแบบโฆษณาแฝงและรายการนำเสนอสินค้าทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • บุหงา ชัยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พรรณพิลาศ กุลดิลก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชัชญา สกุณา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

โฆษณาทางโทรทัศน์, โฆษณาแฝง, รายการนำเสนอสินค้าทางโทรทัศน์ดิจิทัล

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการโฆษณาแฝงและรายการนำเสนอสินค้าทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโฆษณาแฝงและรายการนำเสนอสินค้าที่ปรากฏในการออกอากาศของรายการโทรทัศน์ดิจิทัลจำนวน 88 รายการ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของโฆษณาแฝงและการนำเสนอสินค้าที่พบในการศึกษาครั้งนี้มี 4 รูปแบบหลัก ได้แก่ โฆษณาแฝงที่ปรากฏด้วยภาพเท่านั้น โฆษณาแฝงที่ปรากฏด้วยเสียงเท่านั้น โฆษณาแฝงที่ปรากฏด้วยภาพพร้อมเสียง และโฆษณาแฝงรูปแบบการเชิญชวนให้ซื้อสินค้ารวมถึงรูปแบบรายการนำเสนอสินค้า โดยประเภทรายการที่มีรูปแบบโฆษณาแฝงมากที่สุด คือ รายการกีฬา รองลงมาคือ  รายการบันเทิง รายการข่าว และรายการวิทยาศาสตร์และสุขภาพ ซึ่งการโฆษณาแฝงและการนำเสนอสินค้าในทุกประเภทรายการนั้นส่วนใหญ่เป็นการปรากฏที่เด่นชัด อีกทั้งในบางรายการพบว่าเป็นการนำเสนอที่ไม่เชื่อมโยงกับรายการ สำหรับสัดส่วนเวลาการปรากฏของโฆษณาแฝงเมื่อเทียบกับเวลาของรายการพบว่า ประเภทรายการที่มีการปรากฏของโฆษณาแฝงโดยเฉลี่ยเกินกว่าร้อยละ 50 ประกอบไปด้วย รายการข่าว รายการกีฬา รายการบันเทิง รายการตลก และรายการจำหน่ายสินค้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการกำหนดแนวทางการนำเสนอให้เป็นแนวทางที่มีความเหมาะสม คุ้มครองสิทธิที่ผู้ชมรายการโทรทัศน์พึงได้รับ และคำนึงถึงความอยู่รอดของผู้ประกอบการโทรทัศน์ เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีคุณภาพต่อไป

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). กำลังซื้อทรุดฉุดเม็ดเงินสื่อโฆษณาปี 66 ชะลอตัว. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1095164

เขมณา พรหมรักษา. (2558). การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อโฆษณาแฝงทางโทรทัศน์ กรณีศึกษา: ละครชุดฮอร์โมน วัยว้าวุ่น. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิดาภา ล้อมพิทักษ์ และปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2565). การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 10(2), 10-23.

ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล. (2555). ผลกระทบของงานโฆษณาที่มีต่อการเรียนรู้ของเยาวชน กรณีศึกษา : เยาวชนชุมชนสวนอ้อย. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566, จาก http://ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/753

ณัฐวรรณ เจริญรัตนพรชัย. (2556). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการโฆษณาที่แฝงมาในรูปของบทวิจารณ์สินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพคุณ ชีวะธนรักษ์. (2559). โฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์กับการรับรู้ตราสินค้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(3), 20-31.

บดินทร์ เดชาบูรณานนท์ ชเณษฎ์นิจ สิทธิวาณิชย์กุล ชโลมทิพย์ แซ่ตั้ง พงศกร ภานุมาตรัศมี อุไรรัช โฉมแก้ว และอธิบดี จันทร์ฉาย. (2562). รูปแบบของโฆษณาแฝงและการรับรู้ของผู้ชมในคลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์ 7. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4(ฉบับเสริม), 70-81.

บุหงา ชัยสุวรรณ พรรณพิลาศ กุลดิลก ชัชญา สกุณา และฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร. (2566). แนวทางการโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ในบริบทดิจิทัลภายใต้ความสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคและการอยู่รอดของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์. เสนอกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่)

บุณยาพร กิตติสุนทโรภาศ. (2564). โทรทัศน์ดิจิทัล ทำเลทองของโฆษณาในยุคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://chaladsue.com/article/3873/เรื่องเด่น-ฉบับที่-249-โทรทัศน์ดิจิทัล-ทำเลทองของโฆษณาใ.

แบรนด์บุฟเฟ่ต์. (2565). 5 เหตุผลทีวีโฮมชอปปิงยังไปต่อได้ ในวันที่ใคร ๆ ก็ซื้อของออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2022/05/5-keys-for-the-growth-of-tv-home-shopping/

พรทรัพย์ ฉัตรศิริสุข. (2561). การเปิดรับความน่าเชื่อถือของรายการโฮมชอปปิงในโทรทัศน์ดิจิทัลและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รณชัย แก้วดู และ มนวิภา วงรุจิระ. (2563). การบริหารรายได้ของสื่อโทรทัศน์ดิจิทัลท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ. 10(1), 68-85.

วลีทิพย์ นันทเอกพงศ์. (2549). การโฆษณาแฝงในละครซิทคอม ของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2562). โครงการศึกษารูปแบบและวิธีการโฆษณาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https://bcp.nbtc.go.th/uploads/items/attachments/a1d33d0dfec820b41b54430b50e96b5c/_402373557f9d12b0df24cb8e59ccc3a6.pdf

วีรพงษ์ พวงเล็ก. (2547). การสำรวจทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการโฆษณาสินค้าแฝงในละครโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีสุภา กัณหะยุวะ (2549). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาแฝงในรายการละครซิทคอมเรื่องเป็นต่อ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2559). การสร้างการรับรู้ของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลให้เป็นที่จดจำของผู้ชม. วารสารร่มพฤกษ์. 34(3), 79-98.

สรีรโรจน์ สุกมลสันต์ วรรณา ศรีวิริยานุภาพ และวิทยา กุลสมบูรณ์. (2557). การโฆษณาในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก:ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำกับดูแล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 8(2), 210-220.

สยามรัฐ. (2566). “ช่อง one 31” ยืน 1 วาไรตี้ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ พร้อมส่งคอนเทนต์สนุก โปรเจ็กต์สุดปังตลอดปี 66. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://siamrath.co.th/n/421967

สิระ สุวรรณพันธุ์. (2550). ทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อโฆษณาแฝงในละครตลกตามสถานการณ์: กรณีศึกษาละครในเครือบริษัท เอ็กแซกท์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมนมาศ คำทอง. (2560). Survival of Digital Television Business Analysis. NBTC Journal, 1(1), 134–157.

อาภาพร อุดมพืช. (2553). วิเคราะห์ลักษณะโฆษณาแฝงที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 3(2), 82-90.

Cowley, E. & Barron, C. (2008). When product placement goes wrong. Journal of Advertising, 37(1), 89-98.

Ferraro, Rosellina, and Rosemary J.Avery. (2000). Brand apperances on prime-time television. Journal of Current Issues and Reasearch in Advertising, 22(2), 1-15.

Gupta and Kenneth R. Lord. (1998). Product Placement in Movies: The Effect of Prominence and Mode on Audience recall. Journal of Current Issues and Research in Advertising, 20(1), 47-59.

Karrh, A.J., Mckee, B.K., & Pardun. J.C. (2003). Practitioners’ Evolving Views on Product Placement Effectiveness. Journal of Advertising Research. 43(2), 138-147.

La Ferle, C., & Edwards, S, M. (2006). Product placement: How brands appear on television. Journal of Advertising. 35(4), 65-86.

Ofcom. (2023). Product placement on TV. Retrieved January 5, 2024, from https://www.ofcom.org.uk/tv-radio-and-on-demand/advice-for-consumers/television/product-placement-on-tv

Russell, C.A., (2002). Investigating the Effectiveness of Product Placements in Television Shows: The Role of Modality and Plot Connection Congruence on Brand Memory and Attitude. Journal of Consumer Research, 29(3), 306-318. doi: 10.1086/344432

TV Digital Watch. (2565). เรตติ้งช่องโทรทัศน์ดิจิทัลไตรมาสแรกปี 2565. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2566, จาก https://www.tvdigitalwatch.com/rating3group-1st-trimas65/

TV Digital Watch. (2565). เรตติ้งมวยช่องทีวีดิจิทัลในรอบ 3 เดือน. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2566, จาก https://www.tvdigitalwatch.com/rating-14-004-65/

Wenner, L. A. (2004). On the ethics of products placement in media entertainment. Journal of Promotion Management. 10(1/2), 101-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31