พื้นฐานวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลและแนวทางการสร้างทฤษฎีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มาลียา บุราวาศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย
  • จำเนียร จวงตระกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

วิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล, วิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลแบบคลาสสิค, การวิจัยเชิงคุณภาพ, การใช้สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

ความหลากหลายของรูปแบบวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (Grounded Theory Methodology) ทำให้นักวิจัยจำนวนไม่น้อยมีความสับสน ผลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างไม่เป็นระบบ (Non-Systematic Literature Review) พบว่างานวิจัยไทยที่ใช้วิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีการอธิบายขยายความถึงเหตุผลหรือที่มาที่ไปของแนวคิด, หลักการ และความแตกต่างของรูปแบบวิธีวิจัย (Variations of Grounded Theory) ผู้เขียนบทความเล็งเห็นว่าหากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารไทยยังไม่เอื้อต่อผู้ที่กำลังเริ่มต้นศึกษาวิธีวิจัยนี้ อาจส่งผลให้นักวิจัยรุ่นหลังใช้เครื่องมือวิจัยผิดไปจากวัตถุประสงค์หลักของ Glaser และ Strauss ที่เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาวิธีวิจัยนี้ อีกทั้งยังส่งผลให้การตรวจผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยเป็นไปได้ยาก

บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายขยายความเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล โดยนำเสนอตัวอย่างการสร้างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยมีสถิติการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และยังมีผลการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ยังไม่ปรากฏว่ามีการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาจากบริบทไทยโดยตรง ดังนั้นจะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งต่องานวิจัยในอนาคต หากมีการสร้างทฤษฎีที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชากรไทย เพราะทฤษฎีที่ถูกสร้างขึ้นตามหลักการของวิธีวิจัยการสร้างทฤษฎีจากข้อมูลจะเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาจากบริบทที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ของงานวิจัยนั้น ๆ โดยตรง ทฤษฎีสามารถประยุกต์ใช้ได้ทันที และยังสามารถต่อยอดจากการเป็นทฤษฎีที่ใช้ได้ในขอบเขตแรกเริ่มของงานวิจัย (Substantive Theory) ไปสู่การเป็นทฤษฎีกฎเกณฑ์ (Formal Theory) หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายขอบเขตงานวิจัยมากขึ้น

References

จำเนียร จวงตระกูล, ศิวะพร ภู่พันธ์, อุทัย อันพิมพ์ และอารีย์ ผสานสินธุวงศ์., 2566. การใช้การวิจัยเชิงคุณภาพยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีจากข้อมูลในงานรัฐประศาสนศาสตร์: การทบทวนวรรณกรรมแบบไม่ใช้ระบบ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย. 5(10), 7-34.

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และประสพชัย พสุนนท์ (2562). การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก: การจัดการสมรรถนะการประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในบริบทของประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 9(1), 79-94.

พระมหาวิเชษฐ์ สุวฑฺฒโน (2565). ทฤษฎีฐานราก: ระเบียบวิธี วิทยาเพื่อการแสวงหาความรู้ทาง สังคมศาสตร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(6), A15-A27

สุรศักดิ์ วงค์ษา, 2563. การวิจัย เชิงคุณภาพด้วยวิธีทฤษฎีฐานราก: แนวความคิด, วิธีการและ กรณีศึกษา. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 15(1), 117-130.

อธิป เตชะพงศธร และภัทรนันท์ ไวทยะสิน (2565). การศึกษากระบวนการสร้างสรรค์สื่อดิจิดัลผสมศิลปะการจัดวางเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของบุคคลในกลุ่มเจเนอเรชั่นซี. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 2(20), 140-156

อารีวรรณ กลั่นกลิ่น และวาสนา อูปป้อ (2562). ทฤษฎีฐานรากในวิจัยทางการพยาบาล. พยาบาลสาร. 46(ฉบับเสริม), 116-127.

Birks, M. and Mills, J. (2015). Grounded Theory: A Practical Guide. SAGE Publications.

Bryant, A., (2021). Continual permutations of misunderstanding: The curious incidents of the grounded theory method. Qualitative Inquiry. 27(3-4), 397-411.

Charmaz, K., (2014). Constructing Grounded Theory. London; Thousand Oaks, Calif: Sage Publications.

Cho, J.Y. and Lee, E.H. (2014). Reducing Confusion about Grounded Theory and Qualitative Content Analysis: Similarities and Differences. Qualitative Report. 19(32), 1-20

Corbin, J., & Strauss, A. (2015). Basics of Qualitative Research. Thousand Oaks, CA: Sage.

Glaser, B.G. ed. (1996). Gerund Grounded Theory: The Basic Social Process Dissertation. Sociology Press.

Glaser, B.G., (1998). Doing Grounded Theory: Issues and Discussions. 1st ed. United States of America: Sociology Press.

Glaser, B.G., (1978). Theoretical Sensitivity. Fifth. United States of America: The sociology press.

Glaser, B.G., (2001). The Grounded Theory Perspective: Conceptualization Contrasted with Descriptions. United States of America: Sociology Press.

Glaser, B.G. (2002). Conceptualization: On Theory and Theorizing Using Grounded Theory. International Journal of Qualitative Methods. 1(2), 23-38.

Glaser, B.G. (2005). The Grounded Theory Perspective III: Theoretical Coding. United States of America: Sociology Press.

Glaser, B. and Strauss, A. (2014). Applying Grounded Theory. The Grounded Theory Review. 13(1), 46-50.

Glaser, B.G. and Strauss, A.L. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. 4. Reprint. New Brunswick: Aldine, 2009

Putdivarnichapong, W. (2020). Development of Thai Family Functioning Model (TFFM): Grounded Theory Method. Journal of MCU Peace Studies. 8(5), 1639-1652.

Shewale, R., (2024). Social Media Users and Statistics In 2024. Demandsage. Retrieved February 20, 2024. from https://www.demandsage.com/social-media-users/

Simmons, O.E. (2022). Experiencing Grounded Theory: A Comprehensive Guide to Learning, Doing, Mentoring, Teaching, and Applying Grounded Theory. Brown Walker Press.

Strauss, A.L. and Corbin, J.M. (1998). Basics of Qualitative Research: Techniques and Procedures for Developing Grounded Theory. 2nd ed. Thousand Oaks: Sage Publications.

Urquhart, C. (2013). Grounded Theory for Qualitative Research: A Practical Guide. London: SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31