การศึกษาการสร้างความกลัวผ่านเทคนิคการกำกับภาพในภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับภาพยนตร์ “เจมส์ วาน”

ผู้แต่ง

  • อธิป เตชะพงศธร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ , ความกลัว, การกำกับภาพ, ภาษาภาพยนตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการกำกับภาพที่สร้างความกลัวในภาพยนตร์สยองขวัญของผู้กำกับภาพยนตร์ “เจมส์ วาน” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ของภาพยนตร์ โดยนำทฤษฎีและแนวคิดด้านเทคนิคการกำกับภาพ (Cinematography) และทฤษฎีประพันธกร (Author theory) ในการศึกษาภาพยนตร์แนวสยองขวัญของผู้กำกับ เจมส์ วาน จำนวน 5 เรื่อง คือ 1) Insidious (2010) 2) The Conjuring (2013) 3) Insidious: Chapter 2 (2013) 4) The Conjuring 2 (2016) และ 5) Malignant (2021)

ผลการศึกษาพบว่า การกำกับภาพเพื่อสร้างความกลัวในภาพยนตร์สยองขวัญที่กำกับภาพยนตร์โดย เจมส์ วาน ให้ความสำคัญด้านเทคนิคการกำกับภาพ คือ 1) เทคนิคการจัดแสง (Lighting) ที่เน้นการกำหนดให้ผู้ชมมองจุดที่สว่างที่สุดในภาพ 2) เทคนิคการถ่ายภาพแบบนานต่อเนื่อง (Long take shot) 3) เทคนิคการใช้ขนาดภาพและมุมกล้อง (Shot size and Camera angle) ประกอบด้วย การนำเสนอมุมมองตัวละคร (Point of View) และ ภาพขนาดใกล้ (Close-up Shot) 4) เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) ประกอบด้วย เทคนิคการสร้างพื้นที่ว่าง (Negative space) การใช้เส้นนำสายตา (Leading line) การวางเฟรมภาพให้รู้สึกแคบ (Narrow frame) และการจัดองค์ประกอบภาพแบบกรอบภาพ (Frame in frame)  ซึ่งเทคนิคการกำกับภาพดังกล่าวมุ่งเน้นในการควบคุมการมองภาพของผู้ชมในการสร้างความกลัวไปพร้อมกับการเล่าเรื่องด้วยภาษาภาพยนตร์ จึงทำให้ภาพยนตร์สยองขวัญของเขาประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในวงการภาพยนตร์

References

กำจร หลุยยะพงศ์. (2554). ดูหนังด้วยแว่นทฤษฎี: แนวคิดเบื้องต้นของการวิเคราะห์ภาพยนตร์. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 6(1), 21-50.

ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2563). วิเคราะห์ศิลปะการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ Post Horror. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 24(1), 7-16.

ธนพล น้อยชูชื่น. (2563). Where’s The Jump? แนะนำคู่มือคู่ใจของคอหนังสายสะดุ้งตุ้งแช่. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.beartai.com/lifestyle/428653

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์. (2562). เขียนบทหนัง ซัดคนดูให้อยู่หมัด. กรุงเทพฯ: Geek Book.

นุจรินทร์ จีรรัตนบรรพต. (2564). วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องและภาษาภาพยนตร์สยองขวัญที่กำกับโดยเจมส์วาน. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 25(2), 52-61.

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. (2552). ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พับลิค บุเคอรี.

พรนิมิต ธิราช และ ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2559). การเล่าเรื่องและการสื่อความหมายของภาพยนตร์สยองขวัญนอกกระแส. วารสารวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 11, 25-33.

พิทักษ์ ปานเปรม. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์สยองขวัญของวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภัทรนันท์ ไวทยะสิน, อธิป เตชะพงศธร, สามินี รัตนยงศ์ไพโรจน์. (2561). "ความคิดรวบยอดและสไตล์" ในความสำคัญของการสื่อสารในการผลิตงานภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(1), 84-95.

ศุภรา อรุณศรีมรกต. (2561). การรับรู้ผ่านทัศนธาตุ: มุมมองใหม่จากงานออกแบบสู่งานศิลปะ. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(1), 2292-2303

สุวัจนี พุฒิโชติ. (2564). การวิเคราะห์ศิลปะการเล่าเรื่องของภาพยนตร์สยองขวัญในจักรวาลเดอะคอนเจอริ่ง. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ. 11(1), 48-62.

อชิตพนธิ์ เพียรสุขประเสริฐ. (ม.ป.ป.). Long Take Shot 101 : ทำไมการถ่าย Long Take Shot จึงเป็นมนตราของโลกภาพยนตร์. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2566, จาก https://www.sarakadeelite.com/lite/long-take-101/

อุสุมา สุขสวัสดิ์. (2559). การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์ไทยนอกกระแสที่ได้รับรางวัลระหว่าง พ. ศ. 2543-2555. วารสารสถาบัน วัฒนธรรมและศิลปะ. 17(2), 71-80.

อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2558). การเล่าเรื่องของ “พี่มาก..พระโขนง” และสัมพันธบทความเป็น “แม่นาคพระโขนง” สู่ “พี่มาก..พระโขนง”. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 3(2), 25-38.

Barry Langford. (2005). Film Genre: Hollywood and Beyond. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Brain Brown. (2017). Cinematography: Theory and Practice : Image Making for Cinematographers and Directors. London, United Kingdom: Taylor & Francis Ltd.

Babak Jani. (2017). Cinematographer as Storyteller How cinematography conveys the narration and the field of narrativity into a film by employing the cinematographic techniques. United Kingdom: University of Wales.

Noel Carroll. (1990). The Philosophy of Horror: Or, Paradoxes of the Heart. New York: Routledge.

Paul Wheeler. (2005). Practical Cinematography. United Kingdom: Focal Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31