การพัฒนาสื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ เรืองนุภาพขจร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ

คำสำคัญ:

สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ, การออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้สื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ในการพัฒนาสื่อแอนิเมชันนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพสื่อแอนิเมชันสองมิติพบว่า เนื้อหาถูกต้อง เหมาะสม เป็นประโยชน์ การออกแบบมีความเหมาะสม มีการนำเสนอที่ดี เป็นลำดับขั้นตอน ภาพและเสียงที่ใช้ ทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่าย มีความเหมาะสมที่จะนำไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์หรือสื่อสังคมออนไลน์ แต่ควรพิจารณาเรื่องความยาวของสื่อแอนิเมชัน อาจจะเพิ่มองค์ประกอบเชิงโต้ตอบกับสื่อแอนิเมชัน ในการศึกษาผลการใช้สื่อแอนิเมชัน มีการประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ประโยชน์สื่อแอนิเมชันสองมิติเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่าง 428 คน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ พบว่า มีความเหมาะสมมากใน 3 อันดับแรกคือ ความเหมาะสมในการลำดับเรื่องราว ความเหมาะสมของเนื้อหา และการนำเสนอในรูปแบบสื่อแอนิเมชันสองมิติ  สื่อแอนิเมชันนี้มีความเหมาะสมในการสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้มาก มีการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้จากสื่อแอนิเมชันได้มาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มาก นอกจากนี้ยังพบว่า เพศที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในประเด็นการนำเสนอในรูปแบบสื่อแอนิเมชันสองมิติ ความเหมาะสมของเนื้อหา และความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนสถานภาพ/การทำงานที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในประเด็นความเหมาะสมของเนื้อหา ความเหมาะสมในการลำดับเรื่องราว ความเข้าใจในเนื้อหา ประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อแอนิเมชัน และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

References

กล้าวารินทร์ แซ่จิว และ พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2561). การเปิดรับข่าวสารและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการออกกำลังกายของชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพจากสื่อเฟซบุ๊ก. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 13(2), 68-79.

คณะกรรมการพัฒนาแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. (2562). แผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561-2573) [ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. กรุงเทพฯ: เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด.

จักรพันธ์ เรืองนุภาพขจร. (2565). ลักษณะเนื้อหาทางการ กีฬาในเว็บไซต์ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ. วารสารมนุษยสังคมสาร. 20(2), 201-219.

จรุงยศ อรัณยะนาค. (2560). หลักการออกแบบด้านนิเทศศาสตร์ด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรภรณ์ อังวิทยาธร. (2562, 23 มกราคม). เดินเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/445/เดินเพื่อสุขภาพ.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดรุณวรรณ สุขสม. (2561). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดำรง กิจกุศล. (2529). เดินเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/6082.

ทิฆัมพร ราชวงค์ และ บุหงา ชัยสุวรรณ. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพและความพึงพอใจในการใช้ชุมชนออนไลน์ด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(1), 166-181.

ทิพย์สุคนธ์ เพชรโอกาส. (2563). แอนิเมชันสองมิติเรื่องขั้นตอนการออกแบบอินโฟกราฟิก. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(4), 70-78.

ธนาวุฒิ เลิศเอกธรรม. (2563). มหัศจรรย์ของการเดิน เดินให้ถูกยืดชีวิตให้ยาวขึ้น. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.phyathai.com/article_detail/2775/th/มหัศจรรย์ของการเดินเดินให้ถูกยืดชีวิต ให้ยาวขึ้น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บ๊อบ แอนเดอร์สัน. (2564). สเตรทชิง การยืดกล้ามเนื้อ (อรดา ลีลานุช, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: แอร์โรว์.

ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). Graphic Design Principle. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

พิชญาพร ประคองใจ. (2558). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวนารท พันธุ์เพ็ง. (2564). การส่งเสริมสุขภาพของวัยรุ่นโดยใช้ สื่อสังคมออนไลน์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม. 7(1), 21-29.

วโรชา สุทธิรักษ์. (2563). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 19 (1), 172-184.

วิสิฐ จันมา. (2558). ประวัติศาสตร์และพื้นฐานการออกแบบภาพเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิระศักดิ์ ถิระสินางค์กูล. (2554). พื้นฐานก้าวกระโดด เพื่อเป็น Animator มือโปร. กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.

สถาวร จันทร์ผ่องศรี. (2561). วิ่งได้ ไม่ใช่แค่ได้วิ่ง. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มติชน.

สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. (2548). วันนี้...คุณเดินครึ่งชั่วโมงแล้วหรือยัง . สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/1297.

สันทณี เครือขอน. (2561). Stretching ยืดเหยียดคลายกล้ามเนื้อเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (บรรณาธิการ). (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น: สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lupton Ellen and Phillips Jennifer. (2560). Graphic Design The New Basics. (สหทัศน์ วชิระนภศูร, ผู้แปล). นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

Lupton Ellen. (2560). Type on Screen. (สุวิสา แซ่อึ่ง, ผู้แปล). นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

The Digital Tips, (2563). 16:9, 4:5, 1:1 อยากทำวิดีโอลงโซเชียลมีเดียเลือกขนาดอย่างไรให้เหมาะสม สืบค้นเมื่อ 10เมษายน 2567, จาก https://thedigitaltips.com/blog/design/how-to-sizing-video-for-social-media/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31