ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในการป้องกันการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตแบบผิดกฎหมายของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร พัฒนกุลโกเมธ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, การมีส่วนร่วมในการป้องกัน, การดาวน์โหลดภาพยนตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์และการดาวน์โหลดภาพยนตร์ ทัศนคติมีต่อการดาวน์โหลดภาพยนตร์ และพฤติกรรมในด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตแบบผิดกฎหมาย ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน t-test ANOVA ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย มีอายุ 18-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและเทียบเท่า มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่พัก มากที่สุด 2) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์และการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตในระดับสูง มีทัศนคติต่อการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับไม่แน่ใจ และไม่เคยมีส่วนร่วมในการป้องกันการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ต มากที่สุด 3) ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยทั้งหมด 18 ข้อ มีเพียง 3 ข้อ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ได้แก่ สมมติฐานการวิจัยที่ 1.4อาชีพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์และการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน, สมมติฐานการวิจัยที่ 1.5 รายได้ส่วนตัวต่อเดือนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์และการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน และสมมติฐานการวิจัยที่ 4ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์และการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ต โดยภาพรวมของงานวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกัน ระหว่างตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2556). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. ภาพพิมพ์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2539). อธิบายศัพท์คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จเรวัฒน์ เทวรัตน์. (2555). การพัฒนาเครือข่ายสังคมออนไลน์ของศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช นครศรีธรรมราช สำหรับนักศึกษา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชุตติมา ศิริรัตนวุฒิ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าดิจิตอลเพื่อความบันเทิง. (รายงานการค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดารารัตน์ ภูธร. (2560). การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: วงกมล โพรดักชัน.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). 10 อันดับกิจกรรม และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย 2566. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2567, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2722450

นวรัตน์ จุลสังข์. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์หรือสื่อดิจิตอลในประเทศไทย. (รายงานการค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิจนันท์ มั่นจริง. (2551). การเปิดรับสื่อ ความรู้ และการมีส่วนร่วมในปัญหาความรุนแรงต่อสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานโครงการเฉพาะบุคคล วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บำรุง สุขพรรณ์. (2550). การศึกษาการเปิดรับข่าวสารจากสื่อ และความรู้ของนักศึกษาต่อการสร้างจิตสำนึกในการป้องกันอันตรายจากยาเสพติดตามแนวยุทธศาสตร์ชาติ. (รายงานการวิจัยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปรัชญา เปี่ยมการุณ. (2566). การเรียนรู้ด้านสื่อและการสื่อสารของอินฟลูเอนเซอร์ในกลุ่มเจเนอเรชั่นแซด. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 11(1), 107-118.

พิเชฐ คุ้มพะเนียด. (2557). ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์: ศึกษากรณีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยดึงสัญญาณภาพและเสียงจากโรงภาพยนตร์. (รายงานการค้นคว้าอิสระ นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัชนี เชยจรรยา. (2558). การวิจัยเชิงปริมาณทางนิเทศศาสตร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัทรานิษฐ์ จิตสำรวย. (2560). เบื้องหลังไทยติดอันดับโลก 'ละเมิดลิขสิทธิ์ฯ' ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567, จาก https://www.tcijthai.com/news/2017/30/scoop/7116

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกาล สิทธิพันธุ์. (2552). การสื่อสารกับการสร้างการมีส่วนร่วมและการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล กรณีศึกษา ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัลลภา เพ็ชร์ใสประเสริฐ. (2547). การรับรู้ ทัศนคติ แนวโน้มพฤติกรรมการเข้าร่วมโครงการฝากบ้านกับตำรวจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานโครงการเฉพาะบุคคล วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิยะดา ขาวอ่อน. (2542). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ทางวิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของเยาวชน : ศึกษาเฉพาะกรณีนักศึกษาชายสถาบันราชภัฏนครปฐม. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์). มหาวิทยาลัยสยาม.

สาธินี อุ่นพยัคฆ์. (2555). ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ : ศึกษากรณีปัญหาการแอบถ่ายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

KhaosodOnline. (2560). อวสานหนังแผ่น! EVS โบกมือลาหลังขาดทุนยับ เหตุคนนิยมดูหนังละเมิดลิขสิทธิ์.. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567,

จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_586038

MRG Online. (2559). ไลฟ์ที ล้มเป็น "หมู่"!! เมื่อแผ่น "โน้ส" แท้ แพ้ FB Live.. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567, จาก https://mgronline.com/live/detail/9590000126976

PostToday. (2559). ไทยละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ผ่านโซเชียลพุ่ง. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567, จาก https://www.posttoday.com/business/422554

ThaiPublica. (2018). ไทยละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 66% สูงอันดับสามใน SEA. สืบค้นเมือ 19 มีนาคม 2567, จาก https://thaipublica.org/2018/06/rate-unlicensed-software-thai/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03

How to Cite

พัฒนกุลโกเมธ เ. . (2024). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในการป้องกันการดาวน์โหลดภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ตแบบผิดกฎหมายของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 12(2), 93–106. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/276197