การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์โดยใช้อัลกอริทึมปรับพื้นผิวโมเดลสามมิติสำหรับปฏิมากรรมพุทธศิลป์

ผู้แต่ง

  • นิลละกาฬ บุบผาโชติ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คชากฤษ เหลี่ยมไธสง คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กชพรรณ ยังมี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปฏิมากรรมพุทธศิลป์, การรีเมช 3 มิติ, ข้อมูลปริมาตรวอกเซล, การรักษารายละเอียด, การสร้างแบบจำลองมรดกดิจิทัล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับปรับพื้นผิวโมเดลสามมิติ ในงานปฏิมากรรมพุทธศิลป์ 2) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับปรับพื้นผิวโมเดลสามมิติ ในงานปฏิมากรรมพุทธศิลป์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยแบบผสม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับปรับพื้นผิวโมเดลสามมิติ ในงานปฏิมากรรมพุทธศิลป์เป็นการวิขัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจงนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานที่เคยเรียนวิชาที่เกี่ยวกับการขึ้นรูปทรงสามมิติมาแล้ว และสำรวจความพึงพอใจโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับปรับพื้นผิวโมเดลสามมิติ ในงานปฏิมากรรมพุทธศิลป์ พบว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.78 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำหรับปรับพื้นผิวโมเดลสามมิติ ในงานปฏิมากรรมพุทธศิลป์ โดยรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.85 งานวิจัยนี้ใช้อัลกอริทึมปรับปรุงคุณภาพของเมชสามมิติโดยการกระจายจุดพื้นผิวให้สม่ำเสมอ ลดความคลาดเคลื่อนทางเรขาคณิต และรักษารายละเอียดสำคัญไว้ด้วยเทคนิคการรักษาคุณลักษณะ และให้ผู้ใช้รีเมชสามมิติโดยปรับค่าความละเอียดของเมชได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือแบบจำลองดิจิทัลสามมิติคุณภาพสูงที่สามารถนำไปใช้ในการศึกษา ใช้ในการทำงานในภาคอุตสาหกรรม การสงวนมรดกทางพุทธศิลป์ไว้ในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะโบราณให้คงอยู่ต่อไป

References

อภินันท์ รังสูงเนิน, สุวิช ถิระโคตร และมนัสวี แก่นอำพรพันธ์. (2567). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์เพื่อสร้างโมเดล 3 มิติสำหรับจักรวาลนฤมิต. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 12(1), 62-71.

Chiaruttini, V., Riolo, V., & Feyel, F. (2013). Advanced remeshing techniques for complex 3D crack propagation. In Proceedings of the 13th International Conference on Fracture (Vol. 1, pp. 547-555). Beijing, China.

Li, Z., Yu, T., Zheng, Z., & Liu, Y. (2022). Robust and Accurate 3D Self-Portraits in Seconds. IEEE Transactions on Pattern Analysis and Machine Intelligence. 44(11), 7854-7870. https://doi.org/10.1109/TPAMI.2021.3113164

Lv, C., Lin, W., & Zhao, B. (2022). Voxel Structure-Based Mesh Reconstruction from a 3D Point Cloud. IEEE Transactions on Multimedia. 24, 1815-1829. https://doi.org/10.1109/TMM.2021.3073265

Palestini, C., Basso, A., & Perticarini, M. (2022). Machine Learning as an Alternative to 3D Photomodeling Employed in Architectural Survey and Automatic Design Modelling. International Archives of the Photogrammetry, Remote Sensing and Spatial Information Sciences, XLVIII-2/W1-2022. 191-197. https://doi.org/10.5194/isprs-archives-XLVIII-2-W1-2022-191-2022

Phung, B. R., & Spear, A. D. (2019). A voxel-based remeshing framework for the simulation of arbitrary three-dimensional crack growth in heterogeneous materials. Engineering Fracture Mechanics. 209, 404-422. https://doi.org/10.1016/j.engfracmech.2019.01.008

Stigeborn, P. (2018). Generating 3D-objects using neural networks. (Master's thesis), School of Electrical Engineering and Computer Science, KTH Royal Institute of Technology (KTH), Stockholm, Sweden. Retrieved from https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:1218064/FULLTEXT01.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03

How to Cite

บุบผาโชติ น., เหลี่ยมไธสง ค., & ยังมี ก. . (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์โดยใช้อัลกอริทึมปรับพื้นผิวโมเดลสามมิติสำหรับปฏิมากรรมพุทธศิลป์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 12(2), 123–135. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/276744