การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร จังหวัดหนองคาย เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว
คำสำคัญ:
การออกแบบอัตลักษณ์ , เจนเนอเรชั่นใหม่ , หนองคาย, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งเสนอแนวทางในเพื่อออกแบบการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดหนองคาย เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวในเจนเนอเรชั่นใหม่ (เจนเนอเรชั่น Z และ Alpha ) โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนาในการสร้างแบรนด์ที่สอดคล้องกับความต้องการและความเปลี่ยนแปลงในสังคมในปัจจุบัน ผลการวิจัยนำเสนอแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์จังหวัดหนองคาย ที่เน้นทั้งวัฒนธรรมและชุมชนในพื้นที่ โดยการศึกษาความต้องการของคนในพื้นที่ กอปรกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในรุ่นใหม่ ผลการวิจัยได้นำเสนออัตลักษณ์ จังหวัดหนองคายเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ การพัฒนาสีประจำจังหวัด การพัฒนาตัวสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่น การพัฒนาตราสัญลักษณ์ การพัฒนาลวดลายประจำจังหวัด และ การพัฒนาสโลแกนของการท่องเที่ยว ผลงานวิจัยมองเห็นถึงปัญหาที่มีต่อภาพลักษณ์ และนโยบายของภาครัฐที่ส่งผลต่อต่อการรับรู้ถึงภาพลักษณ์ สำหรับนักท่องเที่ยวในสมัยใหม่ โดยเชื่อมโยงความเข้าใจถึงภาพลักษณ์ปัจจุบันของจังหวัด และช่วยกำหนดแนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ให้เกิดผลสำเร็จและยั่งยืนในระยะยาว
References
กิตติศักดิ์ ศรีฟ้า. (2566). การออกแบบอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยอิงจากระบบนิเวศวัฒนธรรมในชุมชนเกาะลาดเอเตียน จังหวัดนครปฐม. วารสารการสื่อสารสยาม. 22(2), 314-328
คำแก้ว บุญเขียว. (2566). อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนไทหยวนในอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี”, วารสารการจัดการนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 9(8), 314-328.
จุฬารัตน์ จุนเอด. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ กรณีศึกษาเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง. วารสารวิธีการศึกษาเชิงวัฒนธรรม. 20(38), 66-80.
ชานนท์ อนันต์มงคลกุล, และ กฤษดา พัฒนพงศ์กุล. (2565). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: การศึกษาผสมผสานวิธี. วารสารมนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์. 22(3), 523-535.
รัชนี บุนนาค. (2556). มรดกทางวัฒนธรรม. วารสารวัฒนธรรมศึกษา. 7(1), 55-68.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). รายงานสถิติจังหวีดหนองคาย 2565. สำนักงานสถิติจังหวัดหนองคาย.
Gretzel, U., Sigala, M., Xiang, Z., & Koo, C. (2015). Smart Tourism: Foundations and Developments. Electronic Markets. 25(3), 179-188
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ