การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัญหา 2) สร้างรูปแบบ 3) ประเมินรูปแบบ4) เปรียบเทียบผลการทดลองใช้รูปแบบระหว่างก่อนและหลัง 5) ศึกษาผลการใช้รูปแบบด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพปัญหา ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดระนอง จำนวน 7 โรงเรียนและใช้โรงเรียนสตรีระนอง เป็นโรงเรียนทดลอง ซึ่งมีผู้ปฏิบัติการทดลองจำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาอยู่ระดับมาก 2) รูปแบบที่สังเคราะห์ขึ้นประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดโครงสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดทีมงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน การปฏิบัติตามแผน การติดตาม ประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการให้คำปรึกษา โดยตั้งชื่อว่า POSDEM Model 3) ผลการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80 – 1.00 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบค่าเฉลี่ยหลังสูงกว่าก่อนทดลอง ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) ผลการใช้รูปแบบด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่า อยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาอื่นและผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม และควรมีการศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
กฤษฎิ์ณิชา พุทจิระ. (2564). การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5) เน้นสมรรถนะประจำสายงานของครูประจำชั้น. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียนนครปฐม.
เกษมสุข อันตระโลก. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(10), 179-188.
เฉลิมพงษ์ สุขสมพนารักษ์. (2561). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านช่างหม้อ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐวุฒิ รัตนอรุณ. (2561). รูปแบบการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยกิจกรรมครูคู่สัญญาของโรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 102-115.
ทัชชกร งามเลิศ. (2563). ประสิทธิผลการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 277-293.
นุชรีย์ ผึ้งคุ้ม. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสอยดาววิทยา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประหยัด พิมพา (2561) การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 242-249.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. ( 2558). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2558. สุราษฎร์ธานี: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อภิสิทธิ์ รอดบำเรอ. (2559). รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 10(2), 222-233.
Deming, W. E. (1982). Quality productivity and competitive position. Cambridge, MA: Center for Advance Engineering. Massachusetts Institute of Technology.
Fayol, Henri. (1991). Generation Industrial Management. London: Pitman and Sons.
Gulick, L. and Urwick, L. (1937) Papers on the Science of Administration. Institute of Public Administration: New York.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, (2), 49-60