การศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงอนาคตสู่ความเป็นพลเมืองตื่นรู้ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนกฤต จิตอารีย์
อัจฉรา ศรีพันธ์
รังสรรค์ เกตุอ๊อด
ปริญญา สร้อยทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงอนาคตในปัจจุบัน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงอนาคตสู่ความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน และการสนทนากลุ่มกับนักเรียนจำนวน 7 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 1) แนวคำถามในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงอนาคต 2) แนวคำถามการสนทนากลุ่มสำหรับนักเรียน และ 3) แนวคำถามในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงอนาคต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การคิดเชิงอนาคตไม่ได้ถูกกล่าวถึงโดยตรงในหลักสูตร แต่ถูกบูรณาการผ่านการสอนในโรงเรียน โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามพบปัญหาเกี่ยวกับความแตกต่างทางวิถีชีวิต การขาดทักษะพื้นฐาน และข้อจำกัดด้านเวลาและการฝึกอบรมของครู 2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ควรเน้นการบูรณาการเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา เชื่อมโยงกับชีวิตจริง โดยใช้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นฐาน และใช้วิธีการเรียนรู้แบบสืบสอบ การจำลองสถานการณ์ และการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ พร้อมทั้งการใช้สื่อที่ทันสมัยเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และความเข้าใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม ช่วยให้นักเรียนเป็น Active Learner ที่นำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2563). การคิดเชิงอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ซัคเซส.

ชล บุนนาค และคณะ. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อ สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). สืบค้นข้อมูลเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567 จากhttps://www.sdgmove.com/wp- content/uploads/2020/03/รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประสานงานและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน-ปีที่-1.pdf

ณัชญากร สิงห์สาธร. (2567). แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 19(2), 1-15.

ภัทรพร รักเปี่ยม. (2565). จุฬาฯ เดินหน้าส่งเสริม Futures Literacy ใช้ทักษะอนาคตเพื่อสร้างปัจจุบันที่ดีกว่า. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.chula.ac.th/highlight/81917/

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567 จากhttps://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf

หวิน จำปานิน. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูเชิงพุทธบูรณาการของข้าราชการครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3857-3869.

องค์การสหประชาชาติ ประเทศไทย. (2565). สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567 จาก https://thailand.un.org/th/174652-สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.

อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ. (2564). การพัฒนานวัตกรรมสื่อเพื่อลดความรุนแรงในข่าวและสร้างการรู้เท่าทันอารมณ์ในข่าว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 10(2), 50-64.

Amin, S. (2023). Social science education students’ preparedness for problem basedhybrid learning. Journal of Education and Learning (EduLearn), 17(1), 76-84.

Artino, A. R. (2008). A Brief Analysis of Research on Problem-Based Learning University of Connecticut. Retrieved 1 July 2024 from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED501593.pdf

Ban, Q. (2023). The Role of Teacher in the PBL Teaching Model. Proceedings of the 2nd International Conference on Education. Language and Art (ICELA 2022), (730), 754–763.

Gazi, Z. A. (2009). Implementing a constructivist approach into online course designs in the Distance Education Institute at Eastern Mediterranean University. Turkish Online Journal of Educational Technology, 8(2), 7.

School of Global Studies. (2023). Environmental Concern. Retrieved 1 July 2024 from https://sgs.tu.ac.th/news/top-public-concern-in-thailand-2023/.

UNESCO. (2017). Education for Sustainable Development Goals: learning objectives. Retrieved 1 July 2024 from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000247444.

Vidergor, H. E., et al. (2019). Promoting future thinking in elementary and middle school applying the Multidimensional Curriculum Model. Thinking Skills and Creativity, (31),19-30.