การประยุกต์หลักพลธรรมในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการประยุกต์หลักพลธรรมในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการประยุกต์หลักพลธรรมในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Reseach) กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนมัธยมในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 330 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่ปฏิบัติงานด้านวิชาการ จำนวนทั้งหมด 990 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบประเมินค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.0 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.302-0.835 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงเส้นและวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการประยุกต์หลักพลธรรมในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้องค์ประกอบจำนวน 7 องค์ประกอบ และ 85 ตัวแปร 2) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า เป็นรูปแบบที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ ซึ่งมีความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 06 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 4 ก, หน้า 13.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2567). คำสั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 21 มิถุนายน 2567 จาก https://www.nacc.go.th/
พระมหาสมควร ศรีสงคราม. (2550). การศึกษาความสัมพนธ์ระหวางสัปปุริสธรรมและพละธรรมกับการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา กลุมเขตกรุงธนใต สังกัดกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
สำนักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560). พระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 25 ตุลาคม 2567 จากhttps://otepc.go.th/th/otepc09/km-otepc09/item/3003-2547.html
วัณณุวรรธน์ ศรีไสว และคณะ. (2564). แนวทางการบริหารการศึกษาตามหลักพละ 4 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สถิตย์ชัย วรานนท์วนิช. (2553). ผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพ ฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.