ศึกษาวิเคราะห์การให้ทานของพระเวสสันดร จากมุมมองของปรัชญาอัตถิภาวนิยม

Main Article Content

สมภาร พรมทา

บทคัดย่อ

การให้ทานของพระเวสสันดรเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดการถกเถียงกันในประวัติศาสตร์พุทธศาสนามายาวนานใน “มิลินทปัญหา” พระยามิลินท์แสดงความเห็นว่าการให้ทานของพระเวสสันดรไม่สอดคล้องกับหลักทางสายกลาง นักวิชาการสมัยใหม่ตั้งคำถามว่าการให้ทานของพระเวสสันดรเป็นการสร้างปัญหาให้แก่สังคมหรือไม่ และการให้ทานบุตรและภรรยาทำให้เกิดคำถามว่าทำไมพระโพธิสัตว์ซึ่งต้องเป็นคนฉลาดจึงไม่เข้าใจว่าการกระทำนั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยต้องการอธิบายและปกป้องการกระทำของพระเวสสันดร โดยอาศัยปรัชญาอัตถิ-ภาวนิยมเป็นเครื่องมือ ปรัชญาอัตถิภาวนิยมให้ความสำคัญแก่การเลือกและความรับผิดชอบ ผู้วิจัยจะแสดงว่า พระเวสสันดรได้เลือกและรับผิดชอบการกระทำของตนอย่างถึงที่สุดแล้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2523). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ. 45 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปุ้ย แสงฉาย. (2530). มิลินทปัญหา. กรุงเทพมหานคร: ส. ธรรมภักดี.

สมภาร พรมทา. (2560ก). พุทธปรัชญาในอภิธรรมปิฎก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.

สมภาร พรมทา.(2560ข). รากเหง้าเราคือทุกข์: พินิจคำสอนเรื่องทุกข์ในพุทธศาสนาผ่านแนวคิดของชาร์ลส์ ดาร์วิน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.

สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (2531). พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ (ฉบับ 1971). กรุงเทพมหานคร: สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

Immanuel Kant. (2002). Groundwork for the Metaphysics of Morals. Oxford: Oxford World’s Classics.

Jean-Paul Sartre. (1966). Being and Nothingness: An Essay on Phenomenological Ontology. London: Methuen & Co LTD.

Patrick Jory. (2002). The Vessantara Jataka, Barami, and the Bodhisatta-Kings: The Origin and Spread of a Thai Concept of Power. in Crossroads: An Interdisciplinary Journal of South East Asian Studies, 6(2).

Phra Prayong Rarengying. (2002). The Vessantara Concept of Charity or Donation. M.A. Thesis, Bangkok: Assumption University.

Søren Kierkegaard. (1986). Fear and Trembling. London: Penguin Classic.