การศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของอำนาจในปรัชญาเต๋า

Main Article Content

ภาศิณี โกมลมิศร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาธรรมชาติของอำนาจในปรัชญาเต๋า และเพื่อวิเคราะห์อำนาจกับการปกครองในปรัชญาเต๋า โดยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่มีพลังอำนาจมากที่สุดคือเต๋า เนื่องจากเต๋าถือเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง เกิดขึ้นจากกระบวนการสัมพัทธ์กันระหว่างหยินและหยาง พลังอำนาจแห่งเต๋านั้น มีอยู่แบบอิงอาศัยกันและกัน แปรเปลี่ยนเป็น 2 ลักษณะคือ (1) แปรเปลี่ยนในลักษณะเคลื่อนไหวเป็นวงกลม และ (1) แปรเปลี่ยนในลักษณะภาวะตรงกันข้าม ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งพลังอำนาจของเต๋า มนุษย์ซึ่งถือกำเนิดมาจากเต๋า จึงมีสภาวะที่แท้จริงคือ มีทั้งดีและชั่วติดตัวมาตั้งแต่เกิด หากมนุษย์ประพฤติตนไปในทิศทางที่เป็นภาวะตรงกันข้ามกับเต๋า ซึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัวและความโลภครอบงำ จะนำไปสู่หายนะ เมื่อวิเคราะห์อำนาจกับการปกครองในปรัชญาเต๋า พบว่า ผู้ปกครองที่ใช้อำนาจในการปกครองบ้านเมืองด้วยความพอดี จึงจะถือว่าเป็นผู้ปกครองที่ดี โดยอาศัยหลักของการไม่กระทำ (อู๋เหวย) คือ ไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับราษฎรมากจนเกินไป ผู้ปกครองต้องตระหนักว่า อำนาจในการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่ราษฎรซึ่งเป็นผู้ใต้ปกครอง เพราะราษฎรสามารถยึดเอาอำนาจกลับคืนมาจากผู้ปกครองได้ นอกจากนี้ ในการปกครองนั้น ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการทำสงครามเพราะการทำสงครามถือเป็นความรุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียในทัศนะของเต๋า ในด้านการจัดการศึกษา ผู้ปกครองควรเน้นให้ราษฎรได้รับความรู้ฝ่ายเต๋ามากกว่าความรู้ฝ่ายโลก เพราะความรู้ฝ่ายโลกนั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พจนา จันทรสันติ. (2544). วิถีแห่งเต๋า. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. (2545). คัมภีร์เต๋าฉบับสมบูรณ์พร้อมอรรถกถา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.
นิพาดา วิริยะวงศ์พานิช. (2559). แก่นขงจื๊อ ความหมายแห่งชีวิตแท้จริงและปัญญาที่ยิ่งใหญ่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : แสงดาว.
ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. (2553). คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด.
ฟื้น ดอกบัว. (2549). ปวงปรัชญาจีน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.
สมภาร พรมทา. (2546). พุทธศาสนานิกายเซน : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา สถาอานันท์.(2548). กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ จารีต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.