ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการศึกษาของพระภิกษุในสังคมปัจจุบัน: กรณีพระภิกษุเรียนทางโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการศึกษาของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาวิเคราะห์กรณีพระภิกษุเรียนทางโลก จากการศึกษาพบว่า การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยทุกยุคทุกสมัยนั้นจะมีรูปแบบการศึกษา 2 แบบคือ แบบคันถธุระและวิปัสสนาธุระ โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุคุณธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งข้อนี้จัดว่าเป็นเป้าหมายที่ได้แก่ผู้ศึกษาวิปัสสนาธุระโดยตรง หรือเรียกว่าเป็นประโยชน์ส่วนตน กล่าวคือเพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุด ไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปคือ การบรรลุพระนิพพาน และเป็นการรักษาและสืบอายุพระศาสนาให้มั่นคงถาวร ในข้อนี้จัดเป็นเครื่องมือที่สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและมหาชนส่วนใหญ่ ส่วนกรณีที่พระภิกษุเรียนทางโลก เป็นการศึกษาในแบบคันถธุระ เพื่อสร้างภิกษุสามเณรให้มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งหลักศาสนาและวิชาการอย่างอื่น อันจะช่วยให้สามารถดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาและนำพุทธธรรมไปเผยแพร่ให้เกิดสันติสุขแก่ประชาชนได้อย่างมั่นคงถาวรตลอดไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
พระไพศาล วิสาโล.(2559). พุทธศาสนาไทยในอนาคต : แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). นักวิชาการเทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ ใช่แค่คิดเอา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). มหาจุฬาฯ งามสว่าสดชื่นกลางทะเลแห่งคลื่นลม. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560).อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Owen Flanagan. (2011). The Bodhisattva’s Brain: Buddhism Naturalized. Massachusetts: The MIT Press.