ผลของการเจริญภาวนาที่มีต่อการทำงานของสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน หรือดีเอ็นเอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และเพื่อวิเคราะห์การภาวนาที่มีผลต่อการทำงานของสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน โดยใช้การศึกษาจากเอกสาร หนังสือและบทความที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พรหมวิหารภาวนาในพระสูตร ใช้เมตตาต่อสรรพสัตว์เพื่อให้ให้เกิดสันติสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ การปฏิบัติเมตตาในพรหมวิหารนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็ยังสามารถเห็นความเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่แม้ขั้นตอนบางประการจะแตกต่างอยู่บ้างแต่ก็นับได้ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากงานวิจัยจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติเมตตาภาวนาสามารถทำให้สมองส่วน Prefrontal Cortex, Amygdala และ Insula มีวงจรการทำงานได้ดีขึ้น พบคลื่นสมองแบบแกมม่าสูงขึ้นขณะปฏิบัติสมาธิในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในขณะไม่พบในกลุ่มควบคุมผู้ไม่มีประสพการณ์ ซึ่งคลื่นสมองแบบแกมม่านี้เองมีความเกี่ยวข้องกับความฉลาดปราดเปรื่องของแต่ละบุคคล สำหรับในด้านการศึกษาถึงผลของการปฏิบัติเมตตาภาวนาต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายพบว่าหลังจากอาสาสมัครผ่านระยะการฝึกฝน 8 สัปดาห์แล้วฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่พบว่าแอนติบอดี้มีจำนวนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นเมื่อศึกษาถึงผลของเมตตาภาวนาในระดับเซลล์และดีเอ็นเอ ปรากฏผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าผู้ปฏิบัติมีส่วนของดีเอ็นเอส่วนหัวหรือ Telomere ยาวกว่าในกลุ่มควบคุมและมีเอ็นไซม์ Telomerase ในปริมาณมากกว่าในกลุ่มควบคุม สิ่งนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายและผิวพรรณของผู้ปฏิบัติสมาธิมีลักษณะผ่องใสอ่อนวัยอยู่เสมอ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
พระพรหมคุณาภรณ์ ( ป.อ. ปยตฺโต ). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 19. นนทบุรี: บริษัท เอส.อาร์. พรินติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระพุทธโฆสเถระ. (2553) วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 1. แปลโดยมหามกุฎราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2556). มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฎราชวิทยาลัย,พิมพ์ครั้ง 5. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
อาจอง ชุมสาย ณ อยุทธยา. (2555). แนวทางสู่ความสุข . พิมพ์ครั้งที่ 11 . กรุงเทพมหานคร: เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์ และการพิมพ์ จำกัด.
Masaru Emoto. (2555). มหัศจรรย์แห่งน้ำ. แปลโดยดาดา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแปลนพริ้นติ้ง.
อรวรรณ ศีลปกิจ (2557). “พุทธวิธีการสอนให้เกิดการตระหนักรู้”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Devidson, R et al. (2003). “Alterration in Brain and Immune Function Produced by Mindfulness Meditation”. Psychosomatic Medicine. 65 (2003).
Gyorgy Buzsaki. (2006). Rhythm of the Brain. New York: Oxford University press.
The Society for Neuroscience. (2002). Brain Fact. Fourth edition. China: Everbest Printing Company.
Alda M et al. (2016). “Zen meditation, Length of Telomeres, and the Rols of Experiential Avoidance and Compassion”. Springer. [online]. สืบค้นจาก: DOI 10.1007/ s12671-016-0500-5 http://www.Springerlink.com [Feb. 21,2016]
Blackburn E. (2009). “Telomeres and Telomerase: The Means to the End”. Nobel Lecture. สืบต้นจาก: http://www.nobelprize.org [December 72009].
Devidson R. et al. (2008). “Buddha’s Brain: Neuroplasticity and Meditation”. Signal Process Mag. สืบค้นจาก: http://www.nebi.nih.gov/pmc/articles/PMC2944261/ [Jan.1,2008].
Devidson R. et al. (2004). “Well-Being and Affective Style: Neural Substrates and Biobehavioural correlates”. The Royal Societies. . สืบค้นจาก: http//www. The royalsociety/doi:10.1098/rstb.2004.1510 [August, 2004]
Jacobs TL. et al. (2010). “Intensive Meditation Training, Immune Cell Telomerase Activity, and Psychological Mediators”. Psychoneuroendocrinology . สืบค้นจาก : http://www.elsevier.com/locate/psyneuen [2010].
Lutz, A et al. (2004). “Long-Term Meditators Self-Induce High-Amplitude Gamma Synchrony During Mental Practice”. PNAS. Vol.101 No.46. สืบค้นจาก: http://www.pnas.org [November,2004].
Lutz A. et al. (2008). “Regulation of the Neural Circuitry of Emotion by Compassion Meditation: Effect of Meditative Expertise”. PLoS One.3 (3) e1897. สืบค้นจาก: www.plosone.org [March 2008].