ปัญหาทางพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยทายกและปฏิคาหกในสังคมร่วมสมัย

Main Article Content

พระมหากิตติคุณ บึงแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการกล่าวถึงปัญหาทางพุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยทายกและปฏิคาหกในสังคมร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเลือกรับเงินบริจาคของทายกผู้ประกอบธุรกิจในสิ่งที่ไม่รับอนุญาตตามคัมภีร์ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการวิจัย เป็นการศึกษาวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของปฏิคาหกและปฏิคาหกในคัมภีร์พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา และหนังสืออื่นๆ จากการศึกษาพบว่า ปฏิคาหกรับไทยธรรมของทายกผู้ประกอบธุรกิจในสิ่งที่ไม่ได้รับอนุญาตตามคัมภีร์ถือว่ามีอยู่ 3 ฝ่าย ฝ่ายที่ 1 ยืนยันว่า เป็นการรับที่สมควร ฝ่ายที่ 2 ยืนยันว่า เป็นการรับที่ไม่สมควร ฝ่ายที่ 3 ยืนยันว่า เป็นการรับที่สมควรในบางสถานการณ์ ผลจากการศึกษาพบว่า เป็นการรับที่สมควร เพราะเหตุผล ดังนี้ (1) แรงจูงใจของการให้จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลของทายก ทายกจะเป็นผู้เลือกเองว่า ต้องการลักษณะของทานแบบไหน (2) หน้าที่ของปฏิคาหกนั้นย่อมมุ่งหมายไปที่จาคเจตนาของทายก การที่ปฏิคาหกรับทานของทายกโดยไม่นึกถึงที่มาของทานจึงเป็นสิ่งสมควร (3) ในคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทาน ไม่มีการกล่าวถึงทานที่รับได้หรือรับไม่ได้ มีแต่กล่าวถึงคุณภาพของทานแต่ละประเภท ดังนั้น ทายกและปฏิคาหกจะเป็นผู้จัดการทานด้วยตัวเอง (4) ในแนวคิดเรื่องทานคือจาคเจตนานี้ มีความกว้างขว้างกว่าทานทั่วไป เรื่องทานที่วางบนฐานแนวคิดนี้ สนับสนุนปฏิคาหกคือพระภิกษุให้รับทานอันมีที่มาไม่ถูกต้องได้ทุกสถานการณ์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฺเตปิฏกํ . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2536). ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณะกรรมการกองตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2560). มงฺคลตฺถทีปนี (ปฐโม ภาโค). ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2554). ธมฺมปทฏฺฐกถา (ฉฏฺโฐ ภาโค). ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 4. ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

คูณ โทขันธ์, เรณู ศรีภาค์. (2546). การวิเคราะห์บารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 26(4)ม 23-35.