นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาช่วยสอนในวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
ชัชวนันท์ จิรวดี
พรทิพย์ มนัสชนก
พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส
สุนทร สายคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนวัดแจ้งลำหิน (พูนราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย กับเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) บทเรียน (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน (3) แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ที่มาจากการสุ่มแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบ


ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยรวมมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.68/82.70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐาน ข้อที่1 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับดี โดยนักเรียนมีความรู้สึกในด้านบทเรียนมีความน่าสนใจและมีความรู้สึกพึงพอใจในต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับดีที่สุด รองลงมาคือ มีความรู้สึกว่า เนื้อหาชัดเจนเข้าใจง่ายและมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร. พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว)

กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.กิดานันท์

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2545). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร: วงกมลโปรดักชั่นจำกัด.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนสื่อดิจิทัลด้วยการสอนบน

Padlet วิชาภาษาไทยเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทย ชั้นประถมกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 35(2), 102-120.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,วีรเทพ ชลทิชา ,วัชร์ธิดา ศิริวัฒน์และปรีญา ศรีจันทร์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4เรื่องห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) โดยใช้สื่อวิดีโอ(VDO) ผ่านแอปพลิเคชั่นสําหรับเรียนรู้ผ่านวีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์. วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 30(2), 25-38

เอกนรินทร์ คงชุม,ธนาดล สมบูรณ์,วีระ วงศ์สรรค์,ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแกะสลักผักและผลไม้ลายกุหลาบ โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลมะนัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 79-90.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,ชัชวนันท์ จันทรขุน,จิรวดี เหลาอินทร์,พรทิพย์ คุณธรรม,มนัสชนก ยุวดี. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาช่วยสอนในวิชาภาษาไทยเรื่อง หลักการใช้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนวัดแจ้งลำหิน (พูนราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15(2), 49-63.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,ทรงชัย ชิมชาติ,หยาดพิรุณ แตงสี,อมรเทพ สมคิด ,ชาญวิทย์ อิสรลาม. (2565). การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เรื่องโคกหนองนาโมเดล ตำบลจันดุม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสำโรง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาในอนาคต, 1(1), 47-58.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,จุฑารัตน์ นิรันดร ,ณัฐวุฒิ อัตตะสาระ ,ปิยพัทธ์ สุปุณณะ, จันทนา มุกดาศุภณัฏฐ์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ "ตู้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ" เรื่อง การปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระขาว (ประชานุเคราะห์). วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 5(2), 22-32.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,อภิสิทธิ์ ทุริยานนท์ อรอนงค์ โพธิจักร,อพิเชษฐกิจเกษม เหมิและปวีณา จันทร์ไทย. (2565).นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E -Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจิ่นเต๊อะแก่งคอย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 14(2), 28-42.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,แสงระวี จรัสน้อยศิริ,สุรพล หิรัญพต,แก้วใจ พิชชามณฑ์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาบทเรียน M–Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาครชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ, 5(3), 28-40.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,ชมภูนุช พัดตัน,กาญมณี เพ็ชรมณี,ณภาพัช ราโชกาญจน์,ศุภชัยรวมกลา กอบการณ์อาจประจันทร์. (2565). การบริหารงานวิชาการบทเรียนสําเร็จรูปของชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านหนองลุมพุก จังหวัดชัยภูมิ. วารสารครุทรรศน์, 2(3), 41-52.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2565). การพัฒนาแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์หัวข้อทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษาสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 14(2), 80-106.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์,สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาลและพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564) . การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลรายวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 427-442.