กล่อมเหนา: วิถีชุมชนและความเชื่อของคนทำเหนาบ้านคลองบ่อแสน

Main Article Content

บุญชัช เมฆแก้ว
ธวัชชัย จิตวารินทร์

บทคัดย่อ

ต้นเหนา เป็นคำเรียกของคนในพื้นที่ มีอิทธิพลการใช้ภาษามากับการนับถือศาสนาพร้อมกับการย้ายถิ่นฐาน ลักษณะคล้ายปาล์ม แตกต่างจากพืชพันธุ์ชนิดอื่น คือ ก้านช่อดอกและก้านช่อลูกแยกจากกัน คนทำเหนาบ้านคลองบ่อแสนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันใช้ประโยชน์จากต้นเหนาเกือบทุกส่วน จากการศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าของต้นเหนา พบว่า 1.ด้านการประกอบอาชีพ ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญานำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำหวาน น้ำตาลเหลว น้ำตาลแว่น เป็นต้น 2.ด้านศิลปหัตถกรรมและสิ่งทอ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ก้านใบทำเครื่องจักสาน ใบเย็บเป็นตับจาก ก้านช่อดอกและก้านช่อลูกทำเชือกและเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบัน ก้านช่อดอกนำมาแยกเป็นเส้นด้ายใช้ในการทอและตัดเย็บ และ 3.ด้านการท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ ต้นเหนาเป็นที่รู้จักและสนใจอย่างแพร่หลายผ่านสื่อช่องต่างๆ ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน มีการจดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ของตำบลบางเตยและตำบลบ่อแสน นอกจากนี้ การปรากฏของความเชื่อและกุศโลบายผ่านสังคมเกษตรกรรมจากรุ่นสู่รุ่นบนวิถีชุมชนของคนทำเหนาบ้านคลองบ่อแสน เป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ความสนุกสนานในการทำงาน แม้ว่าความเชื่อในการร้องเพลงกล่อมเหนาจะไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เนื่องมาจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสังคมและขาดการรวบรวมองค์ความรู้ แต่รูปแบบการแต่งกายของคนทำเหนายังปรากฏให้เห็นบนวิถีชุมชนบ้านคลองบ่อแสนตราบทุกวันนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กองการศึกษาเทศบาลตำบลบางเตย. (2560). การทำลูกชก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. พังงา.

ธวัชชัย จิตวารินทร์ และคณะ. (2565). การสกัดและศึกษาคุณสมบัติเส้นใยก้านช่อดอกชก. PSRU Journal of Science and Technology, 7(2): 42-56.

บุญชัช เมฆแก้ว. (2563). เอกสารประชาสัมพันธ์งานฝึกอบรม วิทยาลัยชุมชนพังงา. พังงา.

ปนัดดา ทองศรีจันทร์.(ม.ป.ป.) รองเง็ง. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 จาก https://sites.google.com/site/looknampattalung/phumipayya-ni-dan-silpkar-saedng/rxngngeng

ประคอง นิมมานเหมินทร์ และคณะ. (ม.ป.ป.). คติความเชื่อและศาสนา. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 จาก http://tiwrm.hii.or.th/web/attachments/100yrs-rangsit/chapter10.pdf

พระมหาบุญล้อม ปุญฺกาโม (เตียเปิ้น), พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท (อินทะโพธิ์)และธวัช หอมทวนลม. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชุมชนท่าทราย จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 6(1), หน้า 221-232.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพังงา. (ม.ป.ป.). คู่มือแนะนำการท่องเที่ยวชุมชน “บ่อแสนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์”. พังงา: ดูโอ โปรดักชั่น.

สำรวย พละหงษ์. (ม.ป.ป.). สมุดบันทึกเกี่ยวกับการทำเหนา. พังงา.

อรอนงค์ เฉียบแหลม. (2561). ป่าจาก: ทรัพยากรทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนขนาบนาก จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(6): 496-513.

สมาน ยมโดย. (2566, 26 มกราคม). คนทำเหนา. (บุญชัช เมฆแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).

สุวดี ผลงาม และคณะ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชกในน้ำเชื่อมบรรจุขวด. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิทยาลัยชุมชน.