การตีความเรื่องขันติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาการตีความเรื่องขันติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคม โดยการศึกษาจากคัมภีร์และเอกสารทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาวิจัยพบว่า คำว่า ขันติ ในภาษาบาลีมุ่งหมายถึงความอดทนที่มุ่งอธิบายความอดทนต่อกิเลสภายในอันเป็นขันติที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นความสามารถอดทนที่มุ่งไปถึงการยกระดับปัญญาไปด้วย เป็นการใช้ขันติเพื่อการบรรลุธรรมเป็นหลัก ทำให้เกิดการแสดงออกต่อสิ่งภายนอกอย่างเข้าใจและปล่อยวางต่อสรรพสิ่ง แต่ในทางกลับกันการตีความขันติตามที่ถูกใช้ในสังคมว่าเป็นความอดทนต่อความร้อนความหนาว ต่อความหิว ต่อความทรมานอันเป็นการทรมานร่างกาย เหล่านั้น นับว่ายังเป็นเพียงแค่ความอดทนในบางเรื่องเท่านั้นและ เป็นการใช้เพื่อความสุดโต่งอีกด้วย คือเป็นการใช้ขันติเพื่อสร้างค่านิยมทางสังคมและแบบแผนพฤติกรรมทางสังคม เพื่อมุ่งหมายที่จะยึดความมีตัวตนอยู่หรืออ้างความมีตัวตนอยู่ นำไปสู่การไม่คล้อยตามธรรมชาติซึ่งไม่ตรงตามที่ควรจะเป็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ ว่าเป็นขันติเพื่อเอื้อให้เกิดพฤติกรรมทางสังคมและการสร้างกฎเกณฑ์ทางสังคมในลักษณะที่ทำให้ยากที่จะได้บรรลุธรรม เป็นพฤติกรรมต่อการเป็นอยู่ผิดไปจากการเข้าหาอริยสัจความจริง สร้างการไม่ยอมรับและแข็งขืนตามที่ตนเองต้องการ ด้วยเหตุนี้ การตีความที่แตกต่างกันของคำว่า ‘ขันติ’ จึงช่วยอธิบายพฤติกรรมทางสังคมที่แตกต่างกันมากโดยประการฉะนี้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
พระพุทธโฆสเถระ. (2560). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ผู้แปล. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิริกร สิงหฬ. (2566). อิทธิพลคําสอนเรื่องอัปปมาทธรรมที่มีต่อการเผชิญโรคโควิด-19. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4): 171-183.
อธิเทพ ผาทา. (2566). ศึกษาเชิงสํารวจพุทธสถานที่ปรากฏในอุรังคธาตุนิทาน(ตํานานพระธาตุพนม). วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 6(2): 29-38.
ไอเซ็ต ไตตาโร่ ซูซูกิ. (2553). คัมภีร์มหายาน ลังกาวตารสูตร. พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์
สมฺมาปญฺโญ) ผู้แปล. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Baghramian Maria & J.Adam Carter. (2022). “Relativitism”: The Standford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 จาก https://plato.stanford.edu/Archives/Fall2012/entries/relativism/supplement2.html.
Betty A Reardon. (1994). Tolerance: the threshold of peace; a teaching/learning guide for education for peace, human rights and democracy. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 จาก https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000098178
F. Edgerton. (1953). “Edgerton Buddhist Hybrid Sanskrit Grammar and Dictionary 2.2”. New Haven, CT: Yale Univ. Press.
Genjun H. Sasaki. (1986). Linguistic Approach to Buddhist Thought. India: Motilal Banarsidass Publishers PVT, Ltd.
Mark Travers. (2563). “Societies That Promote Openness and Tolerance Are Happier, According To New Research” นิตยสาร Forbes. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 จาก https://www.forbes.com/sites/traversmark/2020/01/01/societies-that-promote-openness-and-tolerance-are-happier-according-to-new-research/?sh=3675831a1458.
Sarah Schnitker. (2012). “An examination of patience and well-being”. Baylor University. The Journal of Positive Psychology, (7)(4): 263-280.
Sylvain Levi. (1929). “Hôbôgirin. Dictionary of Buddhism Based on Chinese and Japanese Sources, produced in collaboration with the Japanese Buddhist scholar”. Takakusu Junjirō.
UNESCO. (2017). Director-General. “Message from Ms Audrey Azoulay, the Director-General of UNESCO, on the occasion of the International Day for Tolerance, 16 November”. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000260210?posInSet=1&queryId=ce59a83e-d677-4467-95b5-0503605fa1ea
UNESCO Office Bangkok and Regional Bureau for Education in Asia and the Pacific. (2021). Together for Peace (T4P): T4P Statement.
สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000377884?posInSet=80&queryId=6d4563a7-3bf6-4fab-ab99-e5aed6a6f816