แนวคิดเรื่องบุญ : การวิเคราะห์เชิงพุทธญาณวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องบุญในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ญาณวิทยาในการตรวจสอบแนวคิดเรื่องบุญในพุทธปรัชญาเถรวาทการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยวิจัยเชิงเอกสารผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดเรื่องบุญในพุทธศาสนาเถรวาทมี 2 ลักษณะ คือ (1) บุญในส่วนของ "เหตุ" ได้แก่ ความดีที่กระทำผ่านการให้ การรักษาศีล และการภาวนา (2) บุญในส่วนที่เป็นผล ได้แก่สิ่งที่เกิดจากการทำความดี 2) บ่อเกิดของความรู้ในพุทธศาสนาเถรวาทมี 3 แบบ คือ (1) ประสบการณ์นิยมแนวพุทธ (2) เหตุผลนิยมแนวพุทธ และ (3) อัชฌัตติกญาณนิยม 3) การตรวจสอบแนวคิดเรื่องบุญ ด้วยประสบการณ์นิยมพบว่า บุญในระดับทานและศีลนั้นสามารถประสบการณ์ที่ตรวจสอบได้ด้วยอายตนะนั้นเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัด การตรวจสอบแนวคิดเรื่องบุญด้วยเหตุผลนิยม พบว่า เมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย การสร้างเหตุที่ดี เช่น การให้การแบ่งปัน และ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็ย่อมส่งผลให้เกิดสิ่งที่ดี โดยเทียบเคียงกันกับว่าเมื่อตนรักตนเอง ก็ไม่อยากให้ผู้อื่นมาทำร้ายตน เมื่อเราไม่ทำร้ายผู้อื่น แต่ช่วยผู้เหลือเกื้อกูลผู้อื่น ผู้อื่นก็ต้องมีความสุข เมื่อผู้อื่นอยากรักษาความสุขนั้นไว้ ก็ต้องรักษาเหตุแห่งความสุข ด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูลแก่กันและกันสนองตอบมา ส่วนการตรวจสอบแนวคิดเรื่องบุญด้วยอัชฌัตติกญาณจะมีทัศนะที่ระบุว่า ความรู้เรื่องบุญเป็นสิ่งที่ผุดขึ้นภายในบุคคลและสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง อัชฌัติกญาณแบบพุทธนี้ สามารถยืนยันระหว่างกันได้หากบุคคลระนาบความรู้ที่เสมอกัน จากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยเห็นว่า เราไม่ควรพิสูจน์แนวคิดเรื่องบุญด้วยญาณวิทยาแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่ควรพิสูจน์ทั้ง ประสบการณ์นิยม เหตุผลนิยม และอัชฌัตติกญาณ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2560). พุทธปรัชญากับญาณวิทยา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2560) แก่นเดิมของพุทธปรัชญา เล่มที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บีพีเค พริ้นติ้ง.
สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2567). ตามพระใหม่ ไปเรียนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สหธรรมิก จำกัด.
G.T.W. Patrick. (1935). Introduction to Philosophy. Revised Edition, Cambridge Massachusetts: The Riverside Press.
Harold H. Titus. (1968). Living Issues in Philosophy. 8th Edition, New Delhi: Eurasia Publishing House Ltd.
John Hospers. (1997). An Introduction to Philosophical Analysis. 4th Edition, London: Routledge.