ศาสนบำบัด: การตีความเรื่องสมาธิเพื่อการเยียวยาจิตใจในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงการตีความสมาธิเพื่อการเยียวยาจิตใจในพระพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ศาสนบำบัดในพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นการใช้สมาธิอันเกี่ยวกับการรักษาจิตใจ เนื่องจากชีวิตเป็นภาพขององค์รวมไม่ได้ถูกแยกหรือแบ่งออกไปจากธรรมชาติรอบตัว การดูแลจิตใจจึงเป็นการนำเอาหลักการที่เชื่อมโยงกันระหว่างกายกับจิตนั้น และการที่มนุษย์เป็นโรคกายนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่การรักษาจิตใจในแง่นี้จะพบว่าเป็นการทำให้ร่างกายทนรับต่อทุกข์ได้ไปพร้อมกันด้วย และฐานะของพระพุทธเจ้าเป็นหมอ การปฏิบัติของพระพุทธศาสนาถูกมองว่าเป็นการพัฒนาการรักษาชาวโลกเป็นหลัก จนมีคำเรียกว่า สัพพโลกติกิจฉโก ผู้เยียวยาสรรพโลก คือเป็นผู้รักษาชาวโลกทั้งหมด หมายความว่า รักษาโรคด้วยรักษาชาวโลกไปด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
เค็นเน็ธ จี ซิศค์. (2552). ลัทธินักพรตและการเยียวยาในอินเดียโบราณ: ระบบการแพทย์ในพุทธอาราม. แปล โดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). อรรถกถาพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิวลี ศิริไล. (2565). การเป็นแพทย์จากฮิปโปรกราตีสสู่ยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Damien Keown. (1995). Buddhism & Bioethics. New York: ST. MARTIN'S PRESS.
Fank A. Geldarad. (1963). Fundamentals of Psychology. London: Forgotten Books.
Fabrega, Horacio. (1995). “Cultural Challenges to the Psychiatric Enterprise”. Comprehensive Psychiatry, 36: 380.
Jayatilleke. (2000). Facets of Buddhist Thought. Kandy: Buddhist Publication Society.Stella MacLachlan, Malcolm. (1997). Culture and Health. Sussex: Wiley.
Quah. (2001). "Health and Culture". The Blackwell Companion to Medical Sociology. Edited by William C. Cockerham. Oxford: Blackwell Publishers Ltd.