อนาคตภาพการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในทศวรรษหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในทศวรรษหน้า เป็นการวิจัยอนาคต ด้วยเทคนิคอีดีเอฟอาร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง คือค่ามัธยฐาน (Median) ค่าฐานนิยม (Mode) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (interquartile range) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการนิเทศ ควรมีการนิเทศที่เน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นสำคัญ เน้นการใช้ระบบการบริหารงานโรงเรียนเป็นฐาน (SBM) และวงจรคุณภาพ PDCA เน้นความร่วมมือและทำงานเป็นทีม 2) จุดมุ่งหมายการนิเทศ ควรพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการและเทคนิคการสอนส่งเสริมการทำวิจัย การสร้างนวัตกรรมการสอน เน้นสร้างขวัญกำลังใจ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากร 3) บทบาทผู้นิเทศ ควรเข้าใจบริบทของสถานศึกษาเป็นอย่างดี สามารถชี้แนะการปฏิบัติงานได้ครอบคลุมทุกด้าน มีความสามารถในการสื่อสารที่ดี 4) ขอบข่ายการนิเทศ ควรเน้นการบูรณาการเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ท้องถิ่น พัฒนาคุณลักษณะและสมรรถนะของผู้เรียนผ่านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 5) รูปแบบการนิเทศ ควรใช้การนิเทศแบบผสมผสาน มีความยืดหยุ่น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงบริบทของสถานศึกษา 6) เทคนิคการนิเทศ ควรเน้นการใช้สุนทรียสนทนา การโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้รับการนิเทศ ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ในการนิเทศ และ7) การประเมินผลการนิเทศ ควรดำเนินการอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติของการนิเทศ ด้วยวิธีการประเมินตามสภาพจริง และมีการประเมินหลายระยะ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน และอภิสรรค์ ภาชนะวรรณ. (2561). การนิเทศการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 8(2), 193-210.
เพียงกานต์ พวงพะยอม (2562). ทิศทางการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560 – 2569). (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิริวรรณ ลี้กิจเจริญผล. (2559). การนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สามารถ ทิมนาค. (2553). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน่วยศึกษานิเทศก์. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). สามทศวรรษโรงเรียนขนาดเล็กในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2558-2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อดุลย์ วงศ์ก้อม. (2552). รูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.