ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงของผู้บริหารสถานศึกษากับกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนของกลุ่มปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1

Main Article Content

เปมิกา ทองเงิน
สมชาย พุทธา
ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงของผู้บริหารโรงเรียน 2) กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงของผู้บริหารสถานศึกษากับกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนของกลุ่มปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 219 คน จาก 17 โรงเรียน ของกลุ่มปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประยุกต์ตามวิธีของลิเคอร์ท มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า


1. แบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงของผู้บริหารสถานศึกษาของกลุ่มปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ แบบผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลปะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 แบบผู้นำแบบนักบริหาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 แบบผู้นำแบบนักพัฒนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 และแบบภาวะผู้นำที่ยึดระเบียบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34


2. กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนของกลุ่มปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับมากที่สุด 4 ข้อ และระดับมาก 1 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 การปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศภายในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และการวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49


3. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงของผู้บริหารสถานศึกษากับกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนของกลุ่มปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ไม่มีความสัมพันธ์กัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรินทร์ อุตสาหะ และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาของ

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 8 (2), 17–31.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : เคแอนด์พีบุ๊คส์.

ทัศนี ไชยจิตร และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม

ของครูโรงเรียนในอำเภอน้ำยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5 (1), 103–119.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน : Supervision of Instruction. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช

-2565. ระยอง : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน เรื่องนโยบาย.

สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

_______. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพฯ :

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542

และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อนุศิษฏ์ นากแก้ว และคณะ. (2564). การนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน

ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การการศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7 (6), 85–96.

Agih A. Allen. (2015). Effective School Management and Supervision: Imperative for Quality

Education Service Delivery. An International Multidisciplinary Jounal, 9 (3), 62-74.

Breaker, J. L. (2009). Transformational Leadership and the Leadership Performance of Oregon

Secondary School Principals. Dissertation in Doctor of Education Seattle University.

Jafarzadeh. (2014). Administrative skills and effectiveness of primary schools in Karachi, Iran.

Englewood Cliffs, N. J. : Prentice–Hall International.

Joyce, B. & Showers, B. (1982). The Coaching of Teaching. Educational Leadership, 40 (1), 4–10.

William, J. Reddin. (1970). Managerial Effectiveness. New York : McGraw-Hill Book Co.