ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) (ปรับปรุงพุทธศักราช 2562) วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ปีการศึกษา 2563 ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้บริหาร จำนวน 8 คน ครูอาจารย์ จำนวน 32 คน ผู้ปกครอง จำนวน 33 คน นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 จำนวน 16 คน นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 2 จำนวน 17 คน รวมจำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย เป็นแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.91 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ใช้หลักสูตรมีความคิดเห็นต่อหลักสูตร ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.31 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11 เมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผู้สอน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านหลักสูตร และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
Article Details
References
ทรงธรรม ธีระกุล และคณะ. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิต
มหาวิทยาลัยทักษิณ (รายงานการวิจัย). หน่วยวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นิรมล สิริภัคนันท์ และคณะ. (2559). ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31 (3), 70–76.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประดิษฐ์ มีสุข และทรงธรรม ธีระกุล. (2551). วิกฤตคุณภาพบัณฑิตศึกษากับบทบาทมหาวิทยาลัย.
หนังสืองานทักษิณวิชาการ’51 “มหาวิทยาลัย ทักษิณกับทางแก้วิกฤตของชาติ”. ใน โครงการทักษิณ
วิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ระหว่างวันที่ 16–19 สิงหาคม 2551 (หน้า 119-143).
สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลอลงกรณ์ปริทัศน์, 9 (1), 135-145.
_______. (2563). สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวไลอลงกรณ์ปริทัศน์,
(3), 193–202.
วชิระ จันทราช. (2554). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 3 (1), 64-78.
วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี)(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี.
ณัฐวดี ธาตุดี. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุนทรี คนเที่ยง. (2551). หลักสูตรและการเรียนการสอน. เชียงใหม่ : ฝ่ายจัดการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2555). คู่มือหลักการการให้บริการที่ดีภายใต้กระบวนการจัดการความรู้ .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
Oliva, P.F. (2009). Developing the curriculum. 8 th ed. Boston, MA : Pearson Education.
Taba, H. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt,
Brace and World