การสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ประเสริฐ เตชโก
อนุภูมิ โชวเกษม
สุรพล สุยะพรหม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตย ในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3. เพื่อนำเสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ


ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพทั่วไปของการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านเคารพกฎหมายและกฎกติกา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านใช้สิทธิแต่ไม่ละทิ้งหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. ปัจจัยการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองแบบประชาธิปไตย ในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทัศนคติ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านบุคลิกภาพ 3. รูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านกายกรรม การช่วยเหลือกิจธุระและเอื้อเฟื้อต่อสังคมด้วยความเต็มใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกัน ไม่ยึดถือตนเองเป็นใหญ่ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านวจีกรรม แนะนำเชิญชวนทำในสิ่งที่เกิดประโยชน์เสมอ


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัชชา อมราภรณ์. (2564). รูปแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย.

ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นริศ จันทวรรณ. (2559). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 7 (1), 103-104.

บุญส่ง นาแสวง. (2560). การเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนตามหลักพุทธธรรมของพระสอน

ศีลธรรม (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยะ มทฺทโว (มาธรรม). (2564). การประยุกต์หลักสาราณียธรรมเพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของ

บุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย.

วัชราภรณ์ โพธิ์สีดา. (2543). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ

ศึกษาในจังหวัดศรีษะเกษ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). แผนยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สำนักนโยบายและ

ยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สุกัญญาณัฐ อบสิณ. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัด

ภาคเหนือตอนล่าง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิษฎาข์ ศรีเครือดง และคณะ. (2559). การเสริมสร้างจิตสำนึกป้องกันการทุจริตคอรัปชั่นขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นในสังคมไทย(รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Bryan S. Turner. (2000). Contemporary problems in the theory of citizenship. Citizenship and Social

Theory. London : Sage Publications Ltd.