วิเคราะห์ความเป็นจริงของสรรพสิ่งตามกฎไตรลักษณ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

ภูริเชษฐ์ สมพล
กฤตสุชิน พลเสน
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นจริงของสรรพสิ่ง 2) เพื่อศึกษากฎไตรลักษณ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นจริงของสรรพสิ่งตามกฎไตรลักษณ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 


จากการศึกษาพบว่า แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นจริงของสรรพสิ่งมีทั้งแนวคิดทางปรัชญาตะวันออกและตะวันตก สิ่งที่เป็นจริง คือ สิ่งที่มีอยู่จริง สิ่งที่เป็นอยู่จริง ซึ่งอาจรู้ได้หรือไม่อาจรู้ได้ทางประสาทสัมผัส บางอย่างอยู่ นอกประสาทสัมผัส ความเป็นจริงตามทัศนะของปรัชญาตะวันออก ความเป็นจริง หมายถึง ความรู้อันประเสริฐ คือความรู้ที่ทำให้หลุดพ้นจากโลกิยะ ความเป็นจริงตามทัศนะของปรัชญาตะวันตก สามารถศึกษาได้จากกลุ่มปรัชญาจิตนิยม สสารนิยม ทวินิยม กฎไตรลักษณ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ลักษณะที่สามัญทั่วไป 3 ประการ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา วิเคราะห์ได้ว่า ความเป็นจริงของสรรพสิ่งตามกฎไตรลักษณ์ ในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ไตรลักษณ์ เป็นสภาพที่เป็นปกติวิสัยหรือเป็นไปตามธรรมชาติ หรืออาจเรียกว่าเป็นทฤษฎีแห่งความเหมาะเหมือน เพราะทุกสิ่งบนโลกจะอยู่ในกฎหรือภาวะเช่นนี้เหมือนกันทั้งหมด ไตรลักษณ์จึงเป็นหลักสัจธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งสอนให้เข้าใจชีวิตที่เป็นไปตามธรรมดา ตามความเป็นจริง ทำให้ตระหนักรู้ และเกิดความเข้าใจว่าชีวิตเป็นอย่างไร เกิดความรู้เท่าทัน และรับรู้ต่อทุกอาการของการปฏิบัติตน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ บุญเจือ. (2529). ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ประทุม อังกูรโรหิต. (2543). ปรัชญาปฏิบัตินิยม : รากฐานของปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย.

กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 15.

กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2563). พุทธปรัชญาในพระสุตตันตปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : สาละการพิมพ์.