การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเห็นความสำคัญของงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านกระบวนการในการทำงาน
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ร่วมกันทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน ได้ร้อยละ 11.6 และหลักอิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน ได้ร้อยละ 13.4
3. การนำเสนอรูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคี สังกัดกระทรวงแรงงาน ควรมีการมอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน และควรมีการกำหนดกระบวนการในการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับงาน โดยมีการจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง ของการปฏิบัติงาน และมีการตรวจสอบ ประเมินผลว่างานที่ปฏิบัติไปแล้วมีผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจหรือไม่ หากยังไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ก็หาวิธีการในการแก้ไขและดำเนินการจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
Article Details
References
เจริญชัย กุลวัฒนาพร และคณะ. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10 (2),
-113.
ทักษร แก้วนนท์ และคณะ. (2563). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.
วารสารการบริหารปกครอง, 9 (1), 509-531.
ธวัชชัย ช่างสัน และคณะ. (2562). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา
ข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี , 11 (2), 164-175.
นวิยา ยศวิไล และคณะ. (2562). การเปรียบเทียบการดำเนินนโยบายการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติภายในประเทศไทย
และอินโดนีเซีย.วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาสงขลานครินทร์ , 11 (2), 303–327.
นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี .
ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอุดมปิยธรรม (เกรียงศักดิ์ ปิยธมฺโม). (2559). รูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิโชติสิกขกิจ (ณรงค์ กิตฺติธโร). (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรม
แผนกธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก.
พระมหานิพนธ์ วีรพโล (ทบแก้ว). (2560). ปัจจัยที่มีต่อการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์เพื่อความเข้มแข็ง
ของเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดระยอง.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิเศษ กนฺตธมโม (มั่งคั่ง). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาล
เมืองในจังหวัดชลบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิศิต ธีรวํโส (กลีบม่วง). (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของ
พระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุดใจ ชยวุฑฺโฒ (คุนาพันธ์). (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของโรงเรียนพระปริยัติธรรม
แผนกสามัญศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิชาติ เชื้อฉิม. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานการวิจัย).
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.