การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารในพื้นที่น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

รณวีร์ พาผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารในพื้นที่น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารในพื้นที่น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารในเขตน้ำพุร้อน ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การสำรวจความต้องการพัฒนาด้านทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง 2) ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนชุดสื่อการเรียนรู้ และ 4) แบบประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


ผลการวิจัยพบว่า


1) ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองได้รับการออกแบบตามการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มตัวอย่างมีขอบเขตด้านเนื้อหา 5 หน่วย ดังนี้  (1) การต้อนรับลูกค้าเบื้องต้น (2) การรับรายการอาหาร (3) รายละเอียดเกี่ยวกับรายการอาหาร/ส่วนประกอบอาหาร (4) การปรุงอาหาร/ประกอบอาหาร และ (5) การรับเงิน ผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2) ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.82) ในทุก ๆ ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการใช้ประโยชน์  (x̅ = 4.03) ด้านเนื้อหา (x̅ = 3.84) ด้านภาษา (x̅ = 3.80) ด้านการออกแบบ  (x̅ = 3.77) ด้านกิจกรรมฝึกฝนการใช้ภาษา (x̅ = 3.66) ตามลำดับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธรรมพฤฒ แสงประเสริฐ. (2558). การศึกษาคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค กรณีศึกษา

: บริษัท เทสติ้ง อินสทรูเมนท์ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวันรัตน์ นิกรกิตติโกศล. (2559). การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ประกอบการร้านขายของ

ที่ระลึก ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21 (2), 110-122.

ภูริวัจน์ วงค์เลย. (2554). กลวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของบุ คลากรคนไทย

ในโรงเรียนนานาชาตินครพายัพ จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุพาภรณ์ พิริยศิลป์. (2557). ความต้องการทางด้านภาษาอังกฤษของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเขต

จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 9 (2), 16-30.

ลลิดา ภู่ทอง. (2553). การศึกษาสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้นำและสมาชิกชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชน

ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุนันทา แก้วพันธ์ช่ วง. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โดยใช้กิจกรรมทางภาษาเพื่อการสื่อสาร (รายงานการวิจัย). เลย : โรงเรียนเซไลวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2.

สุนิดา ปานดำรงสถิตย์. (2556). ความต้องการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัด

ปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี , 5 (1), 29-38.

สุเมธ แย้มนุ่น. (2552). สหกิจศึกษา : รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ.

วารสารสหกิจศึกษาไทย, 1(1), 11-18.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). โครงการการพัฒนาระบบสถิติข้อมูลและตัวชี้วัดเพื่อใช้ใน

การบริหารราชการแผ่นดินตามยุทธศาสตร์ชาติ : ประเด็นที่ 5 การท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพ : ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

อัญชลี อติแพทย์. (2553). รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยว

เชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Hutchinson and Waters. (2010). English for Specific Purpose A learning-centered approach.Cambridge University Press.

Nunan, D. (1998). The learner Centered curriculum. Cambridge University Press.

Prachanan, Nawamin. (2012). Needs Analysis on English Language Use in Tourism Industry. In the 8th International Language for Specific Purposes (LSP) Seminar-Aligning Theoretical Knowledge with Professional Practice. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 66, 117–125.