การส่งเสริมการกำกับตนเองผ่านการสอนเรื่องราวทางสังคมแบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ : กรณีศึกษาเด็กที่มีภาวะออทิสติก ระดับปฐมวัย

Main Article Content

อุมาพร จันทร์แย้ม
ดารณี อุทัยรัตนกิจ
ภัทรพร แจ่มใส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้การสอนเรื่องราวทางสังคมแบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ ในการส่งเสริมการกำกับตนเองของเด็กที่มีภาวะออทิสติกระดับปฐมวัย จำนวน 1 คน อายุ 6 ขวบ กำลังศึกษาอยู่ชั้นปฐมวัย ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการสอนเฉพาะบุคคลสำหรับการสอนเรื่องราวทางสังคมแบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ จำนวน 2 แผน 2) เรื่องราวทางสังคมแบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ จำนวน 2 เรื่อง และ 3) แบบบันทึกพฤติกรรม ซึ่งรูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) แบบสลับกลับ หรือ A-B-A-B Design แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะเส้นฐาน (A1) ระยะที่ 2 ระยะการจัดกระทำ (B1) ด้วยการส่งเสริมการกำกับตนเองผ่านสอนเรื่องราวทางสังคมแบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ ระยะที่ 3 ระยะงดการ จัดกระทำ (A2) และระยะที่ 4 ระยะการจัดกระทำ (B2) ด้วยการส่งเสริมการกำกับตนเองผ่านการสอนเรื่องราวทางสังคมแบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์เหมือนในระยะที่ 2 (B1) อีกครั้ง ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรม เป้าหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละของความถี่การเกิดพฤติกรรมเป้าหมาย และนำเสนอด้วยตารางและกราฟเส้น


ผลการวิจัยพบว่า


หลังจากดำเนินการส่งเสริมการกำกับตนเอง ผ่านการสอนเรื่องราวทางสังคมแบบวิดีโอปฏิสัมพันธ์ เด็กที่มีภาวะออทิสติกที่เป็นกรณีศึกษามีการกำกับตนเองได้ดีมากขึ้น สังเกตได้จากมีพฤติกรรมก้าวร้าวทางกายลดลง โดยพบว่า ความถี่ของการเกิดพฤติกรรมแย่งของเล่นลดลงจากระยะเส้นฐานคิดเป็น ร้อยละ 88.64 และมีความถี่ของ พฤติกรรมทำร้ายผู้อื่นลดลงจากระยะเส้นฐานคิดเป็น ร้อยละ 91.90 และมีความถี่ของพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่นลดลงจากระยะเส้นฐานร้อยละ 91.90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2553). การออกแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ณปณต โคตรพัฒนา และ มนัสวาสน์ โกวิทยา. (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการศึกษาแบบใช้พื้นที่เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคมส าหรับบุคคลออทิสติกวัยรุ่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12 (2), 401-415.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก. [Online]. Available

https://www.happyhomeclinic.com/au22-autism-care-social-skill.html. [2565, ธันวาคม 1].

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สมโภชน์ เอี่ยวสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธานันท์ กัลกะ. (2561). การช่วยเหลือเด็กออทิสติก: กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 24 (3), 227-238.

สุวรรณี พุทธิศรี. (2558). Autism Spectrum Disorder. ใน มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวช

ศาสตร์ รามาธิบดี. (หน้า 553-560). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Carol, Gray. (2000). The New Social Story Book Illustrated Edition. Arlington : Future Horizons Inc.

Smith, E., et al. (2021). Digitally Mediated Social Stories Support Children on the Autism Spectrum Adapting to a Change in a ‘Real-World’ Context. Journal of Autism and Developmental Disorders, 51, 514-526.

Thompson, R. A. (1994). Emotion regulation: A theme in search of definition. Monographs of the Society for Research in Child Development, 59 (2-3), 25–52.