นิติศาสตร์กับการครองชีวิตวิถีพุทธเบญจศีล

Main Article Content

ปัญม์ณิสาธ์ องค์ปรัชญากุล
กฤช เพิ่มทันจิตต์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักนิติศาสตร์ที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมเบญจศีลหรือ ศีล 5 และ 2) เสนอแนวคิดหลักกฎหมายที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการคลองชีวิตวิถีพุทธเบญจศีล ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากข้อมูลเอกสาร และวิเคราะห์ด้วยวิธีการเชื่อมโยงสัมพันธ์ข้อมูลเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1) หลักนิติศาสตร์ที่สอดคล้องกับหลักพุทธธรรมเบญจศีลหรือ ศีล 5 นั้นสรุปว่า นิติศาสตร์หรือกฎหมายนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่รัฐนำมาจัดทำนโยบายสาธารณะในการกำหนดจัดวางระบบระเบียบของสังคมให้มนุษย์มีสิทธิและหน้าที่ในการอยู่ร่วมกันได้ นิติศาสตร์เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ในส่วนของพระธรรมวินัยหรือศีล ดังจะเห็นจากการบัญญัติกฎหมายอาญาได้นำศีล 5 มาบัญญัติเป็นความผิดที่ต้องรับโทษ หากผู้ใดประพฤตผิดศีล 5 นอกจากจะได้รับโทษทางสังคมแล้วยังมีความผิดตามกฎหมายอาญาต้องรับโทษด้วย และ 2) แนวคิดหลักกฎหมายที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับการคลองชีวิตวิถีพุทธเบญจศีล คือ พระธรรมวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงไว้เป็นศีลให้มนุษย์ในกลุ่มชนต่าง ๆ นำไปบริหารจัดการดำรงชีวิตตามวิถีพุทธนั้น ศีล 5 เป็นศีลลำดับเบื้องต้นสำหรับผู้ครองเรือนทั่วไป จะเห็นได้ว่าศีลแต่ละข้อจะแสดงทั้งเหตุและผลด้วยว่าทำไมต้องปฏิบัติตามศีลข้อนั้น ผู้ปฏิบัติได้รับรู้รับฟังจนเกิดการยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ทำให้ได้รับผลดีในการครองชีวิตเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี ดังนั้นศีลจึงละเอียดกว่ากฎหมายมากนัก เพราะศีลมีผลต่อจิตสำนึกของผู้ปฏิบัติด้วย หากผู้ปฏิบัตินำมาบริหารจัดการชีวิตของตนให้เป็นผู้มีศีล ผู้ปฏิบัติย่อมไม่ทำผิดกฎหมาย ดังกล่าวได้ว่า “เมื่อผู้ปฏิบัติรักษาศีล ศีลก็จะรักษาผู้ปฏิบัติตามวีถีพุทธ”

Article Details

How to Cite
องค์ปรัชญากุล ป. ., & เพิ่มทันจิตต์ ก. . (2021). นิติศาสตร์กับการครองชีวิตวิถีพุทธเบญจศีล. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 261–268. https://doi.org/10.14456/jra.2021.48
บท
บทความวิชาการ

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย).

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). นิติศาสตร์แนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

“พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560”. (2560, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 32 ก, หน้า 51-70.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี. บุคส พับลิเคชั่นส์.

วิกิตำรา. กฎหมาย. เข้าถึงได้จาก https://th.wikibooks.org/wiki/กฎหมาย.

หยุด แสงอุทัย. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.