รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

พระสมคิด มันพร้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหาร ส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
จำนวน 370 คน จากประชากรทั้งหมด 4,852 คนสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.997 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์สถิติพรรณนาที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 14 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview Form) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า                           


  1. ในการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยตัวแบบ 7-S ของแมคคินซีย์ความคิดของประชาชนเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.07, S.D. = 0.568) เมื่อพิจารณา
    ในแต่ละด้าน คือ ด้านโครงสร้างด้านกลยุทธ์ด้านระบบ ด้านบุคลากร ด้านผู้นำด้านทักษะ และด้านค่านิยม พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนอยู่ในระดับมากทุกด้าน

  2. ผลความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคลคือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย สำหรับเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารจัดการที่ดี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐานการวิจัย

      3. รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ตามหลักการบริหารจัดการที่ดีได้แก่ 1) ควรมีการวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบันขององค์การก่อนการจัดทำแผนงานทุกครั้งเพื่อนำผลวิเคราะห์ที่เป็นจุดอ่อนจุดแข็งโอกาสและอุปสรรคด้านการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับปัญหาและสภาวะแวดล้อมด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 2) ฝ่ายบริหารและหัวหน้าส่วนงานควรกระจายอำนาจการตัดสินใจและเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการกำหนดนโยบาย อันจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น 3) จัดหาทุนสนับสนุน การพัฒนาบุคลากรอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคลย่างต่อเนื่อง 4)ควรเพิ่มบุคลากรให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และควรจัดระบบติดตามประเมินผลเพื่อวัดผลการทำงานของบุคลากรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อช่วยชี้จุดอ่อนในการบริหารงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป 5) ควรมีการประชาสัมพันธ์การทำงานให้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2545). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2.สมพร เฟื่องจันทร์. (2552). นโยบายสาธารณะ ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทออนอาร์ตคีเอชั่นจำกัด.

3.สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย, ค้นคว้าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559.

4. สุรนาท ขมะณะรงค์. (2548). กระบวนการนโยบาย:หลักการและการประยุกต์. ขอนแก่น:สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.