ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

พระมหาวุฒิชัย ถาวโร (กัลสุมาโส)

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือพระสงฆ์ในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์จำนวน 263 รูป ซึ่งใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบโดยใช้สถิติตามลักษณะของตัวแปร คือ การทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 9 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับความคิดเห็นพระสงฆ์ต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.62) พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสังวรปธาน (gif.latex?\bar{x} = 3.66), ด้านปหานปธาน (gif.latex?\bar{x} = 3.63), ด้านอนุรักขนาปธาน (gif.latex?\bar{x} = 3.63)  ด้านภาวนาปธาน (gif.latex?\bar{x} = 3.57) ตามลำดับ


2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพระภิกษุต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาบาลี และวุฒิการศึกษาสามัญ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่แตกต่างกัน  จึงปฏิเสธสมมติฐาน


3) ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัญหาที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการ (1) พระสังฆาธิการบางรูปยังขาดระเบียบวินัยและเหตุผลในการบริหารงานคณะสงฆ์ที่ชัดเจน (2) พระสังฆาธิการบางรูปยังมีความอยาก เกิดความต้องการด้วยอำนาจของความโลภและทุจริต (3) พระสังฆาธิการรูปยังขาดความเข้าใจบทบาทของตนในสังคมและยึดติดแบบเดิมในการบริหารงาน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงาน (4) พระสังฆาธิการบางรูปเมื่อได้รับมอบหมายงานแล้วไม่มีการติดตามงานอันเนื่องมาจากภาระหน้าที่ด้านอื่น ข้อเสนอแนะ (1) ควรวางระเบียบปฏิบัติอย่างมีเหตุผลในการบริหารงานคณะสงฆ์ที่ชัดเจน 2) ควรละความอยาก เกิดจากต้องการด้วยอำนาจของความโลภและประพฤติสุจริต (3) ควรทำความเข้าใจบทบาทของตนในสังคม ส่งเสริมทำกิจกรรมทางสงฆ์ร่วมกันและเปิดใจคุยกันลดความขัดแย้งกับผู้ร่วมงาน (4)  ควรมีการติดตามงานที่ได้มอบหมายในหน้าที่อย่างต่อเนื่องและมีความเสียสละกับกิจการงานส่วนรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

2. สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์. บัญชีสำรวจวัดและพระภิกษุ-สามเณรสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์, 1 สิงหาคม 2558.

3. พระมหาสามารถ ธิตสทฺโธ (กล่ำดี). (2556). “ภาวะผู้นำเชิงพุทธของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

4. พระถนัด วฑฺฒโน (บุตรสวัสดิ์). (2551). “การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้นำ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

5. พระมหามณเทียร วรธมฺโม (ซ้ายเกลี้ยง). (2552). “บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดพังงา” . วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

6. พระมหาทองดี อกิญฺจโน (ศรีตระการ). (2553). “ศึกษาวิเคราะห์ทัศนคติที่มีต่อภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะ : กรณีศึกษา คณะสงฆ์เขตภาษีเจริญ และเขตบางแคกรุงเทพ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. พระธนดล นาคพิพัฒน์. (2551). “การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

8. พระมหาภชล โฆสิตเมธี (โฆสิตเมธางกูร). (2550). “จริยธรรมสำหรับผู้นำตามหลักพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

9. พระเสถียร ฐิติสมฺปนฺโน. (2552). “ภาวะผู้นำกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาในวัดเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

10. นันทวรรณ อิสรานุวัฒน์ชัย. (2550). “ภาวะผู้นำในยุคโลกาภิวัฒน : ศึกษาจากหลักพุทธธรรม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

11. พระเสถียร ฐิติสมฺปนฺโน. (2552). “ภาวะผู้นำกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาในวัดเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

12. พระมหามณเทียร วรธมฺโม (ซ้ายเกลี้ยง). (2552). “บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดพังงา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.