ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พระมหาสุพัฒน์ สิริวณฺโณ (พันธน่วม)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์


 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 396 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐาน เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององคการบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้น สองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 10 รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


ผลการวิจัยพบว่า


1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.66) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านปุคคลปโรปรัญญุตา (gif.latex?\bar{x}= 3.83) รองลงมา คือ ด้านธัมมัญญุตา (gif.latex?\bar{x}= 3.77) ด้านอัตตัญญุตา (gif.latex?\bar{x}= 3.75) ด้านปริสัญญุตา (gif.latex?\bar{x}= 3.67) ด้านมัตตัญญุตา (gif.latex?\bar{x}= 3.61) ด้านอัตถัญญุตา (gif.latex?\bar{x}= 3.57) และด้านกาลัญญุตา (gif.latex?\bar{x}= 3.54) ตามลำดับ


2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย


3) ปัญหา อุปสรรค ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า โครงการบางครั้งไม่ตรงต่อความต้องการของประชาชน การอนุรักษ์โบราณสถานที่ทำได้ยากเนื่องจากเป็นสถานที่อยู่ติดกับชุมชน ผู้บริหารมีเวลาในการพบปะประชาชนน้อย วันหยุดราชการเยอะ กิจกรรมน้อยและการทำงานยังไม่โปร่งใส เห็นแก่พวกพ้องทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น และการทำงานสร้างปัญหาและเบียดเบียนแก่ประชาชน


ข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า  ผู้บริหารควรจัดหางบประมาณช่วยเหลือเร่งด่วนจากรัฐบาลเพื่อเสนอโครงการช่วยเหลือประชาชน มีนโยบายด้านการป้องกันสาธารณะภัยที่ต่อเนื่องและมีการประชาสัมพันธ์เตือนภัยอย่างรวดเร็ว ควรมีการสำรวจความสุขของประชาชนและสถานที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชน ใส่ใจในเรื่องที่เป็นแนวทางมุ่งสู่เป้าหมายอย่างชัดเจนและให้การส่งเสริมพัฒนาชุมชนและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ควรแบ่งเวลาพบประประชาชน จัดกิจกรรมให้พอเหมาะพอควรกับชุมชน เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม ควรมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจในด้านสิทธิและหน้าที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ทั่วถึงยิ่ง ๆ  ขึ้นไปและทำงานโดยไม่สร้างปัญหาและเบียดเบียนประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

2. พระครูโสภิตสัทธาธรรม จนฺทโสภโณ (สังวาลย์ ชมวัน). (2555). “ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของพระสังฆาธิการในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

3. พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

4. พระบุญรุ่ง สมฺปุณฺโณ (ศรีสงวน). (2554). “ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักสังคหวัตถุ 4 : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลใน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

5. พระมหาศุภโชค มณิโชติ มณีโชติ. (2556). “ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของเจ้าอาวาสในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต พระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

6. สุรัตน์ กลั่นประเสริฐ. (2553). “ภาวะผู้นำทางการบริหารโดยการประยุกต์ใช้ตามหลักสัปปุริสธรรม 7: กรณีศึกษา บริษัททรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

7. อรนุช โขพิมพ์. (2556). “ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

8. อัศนีย์ สุกิจใจ. (2555). “ภาวะผู้นำในการบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 : กรณีศึกษานายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.