แรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระมหาสุเมฆ สมาหิโต (ทวีกุล)

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงาน และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร วิธีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 224 คน จากประชากรทั้งหมด 510 คน โดยใช้สูตรของ
ทาโร่ ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบแบบไค-สแคว์และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูป/คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาปฏิบัติงาน รายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

  2. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พบว่าแรงจูงใจโดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก (r=0.861) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก 3 ด้าน ด้านวินัยในการทำงาน (r=0.844) ด้านมนุษยสัมพันธ์ (r=0.818)และด้านความคิดสร้างสรรค์ (r=0.766)ตามลำดับ และมีความสัมพันธ์ในระดับสูง คือด้านความรับผิดชอบ (r=0.749) โดยทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  3. แนวทางพัฒนาแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 1) นโยบายและแนวทางการบริหารงานควรจัดทำให้ครอบคลุมทุกตำแหน่งหน้าที่ 2) ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรและจริงใจในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ 3) หน้าที่และความรับผิดชอบควรมีการกำหนดให้เหมาะสมและมีขั้นตอนในการการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน ไม่ทับซ้อนกัน 4) ควรให้บุคลากรรับผิดชอบงานที่ถนัดและเปิดโอกาสให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานโดยไม่ออกนอกกรอบกฎ ระเบียบ  5) ส่งเสริมบุคลากรเข้าอบรมในงานที่ยังขาดความรู้ 6)ในการปฏิบัติและประเมินผลงานควรใช้ระบบคุณธรรมเพื่อความโปร่งใส 7) ควรนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติราชการให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ภาษาไทย
(1) หนังสือ :
มานิตย์ จุมปา. (2555). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(2) วารสาร :
พระธรรมธีรราชมหามุนี (ช่วง วรปุญฺโญ). (2554). “ลักษณะการทำงาน 4 ประการ”. สายตรงศาสนา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 เมษายน.
สมพร สิงห์ชัยและคณะ. (2555). “ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี”. บทความวิจัย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.
(3) วิทยานิพนธ์ :
ณัฏฐิกา เจยาคม. (2551). “พฤติกรรมการทำงานของพนักงานดีเด่นในโรงงานอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภศวรรณ บุญอินทร์. (2558). “ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิภา แสงศิริ. (2550). “แรงจูงใจการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปฐมวงค์ สีหาเสนา. (2557). “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลค่ายเนินวงตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปทิตตา อุดมศิริ. (2556). “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วาริกร สุพันธนา และคณะ. (2556). “ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจที่มีต่อการทำงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อรรถพล สีหนาจ. (2550). “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอกราช ปลอดโปร่ง. (2557). “ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2. ภาษาอังกฤษ
Abranam H Maslow. (1968). “A Theory of Human Motivation”. Psychological Review.
Herzberg, F. Barnard, M. and synderman, B. (1959). The Motivation to work. New York John Wiley.