การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักธรรมที่นำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ จากกลุ่มประชากรทั้งหมด โดยประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ข้าราชการตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 6 จำนวน 110 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 8 ท่าน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักธรรมที่นำไปใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีวิธีการของตัวเองไม่ว่าองค์การใดก็ตามสามารถเลือกสรรวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความเหมาะสมกับหน่วยงานของตนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ในขณะเดียวกันการเริ่มต้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งเน้น 3 กิจกรรมที่สำคัญคือ การฝึกอบรม เป็นการเรียนรู้เพื่อมุ่งเน้นการทำงานในปัจจุบัน การศึกษา เป็นการเรียนรู้เพื่อมุ่งเน้นการทำงานในอนาคต การพัฒนา เป็นการเรียนรู้ที่มิได้มุ่งเน้นการทำงาน แต่มุ่งถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ไปในทางที่ดีขึ้น และในทางพระพุทธศาสนามีหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ หลักภาวนา หมายถึง การเจริญ การทำให้เป็น ให้มีขึ้น การฝึกอบรม การพัฒนา ซึ่งมีอยู่ 4 ประการ คือ กายภาวนา คือ การพัฒนากาย การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักปฏิบัติต่ออินทรีย์ทั้งห้าในทางที่เป็นคุณ และพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ศีลภาวนา คือ การพัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ด้วยดีเกื้อกูลแก่กัน จิตตภาวนา คือ การพัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข็มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ปัญญาภาวนา คือ การพัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลส และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา
2) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ=3.39) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในขั้นกายภาวนา (µ= 3.48) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในขั้นจิตภาวนา (µ= 3.30)
3) ปัญหาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ขาดแรงกระตุ้น ที่จะพัฒนาคุณภาพการทำงานของตนให้เจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจน ขาดทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากร ทำให้บุคลากรไม่ได้รับข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในอันจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อการเรียนการสอน ไม่ค่อยมีการฝึกอบรมวิชาการเฉพาะด้านให้บุคลากร จึงขาดความชำนาญในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ไม่ค่อยมีการพัฒนาบุคลากรด้านจิตใจ
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ควรมีกิจกรรมกระตุ้นให้บุคลากรตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ และควรเสริมขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรด้านอื่น เช่น การให้ทุนการศึกษาต่อเป็นต้น มีจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี บุคลากรต้องการ เพื่อให้บุคลากรได้รับข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในยุคปัจจุบัน และจัดฝึกอบรมวิชาการเฉพาะด้านเพิ่ม หรือนำบุคลากรที่ชำนาญมาทำงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง มีการพัฒนาบุคลากรโดยเน้นด้านจิตใจมากกว่าด้านวัตถุ จัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับคุณธรรม หรือมีกิจกรรมที่ปลูกจิตสำนึก และส่งเสริมให้อบรมสมาธิวิปัสสนาในหน่วยงาน หรือที่วัด
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
2. เนตรดาว ขวัญพุทโธ. (2553). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขาของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
3. พระดำรงค์ฤทธิ์ นราสโภ (สิงหเรศร์). (2557). “การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนมัธยมศึกษา”. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขา รัฐประศาสนาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. พระไตรปิฎกภาษาไทย. (2539). ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
5. อนุกูล บุญรักษา. (2554). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.