การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ตามความคิดเห็นของประชาชน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey. Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 15,742 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง จากการแทนค่าในสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 391 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square test) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 9 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ตามความคิดเห็นของประชาชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.37) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความมีเหตุผล (=3.41) ด้านความพอประมาณ (=3.39) เงื่อนไขด้านคุณธรรม (=3.38) เงื่อนไขด้านความรู้ (= 3.37) และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี (=3.33) ตามลำดับ
2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า เพศ อายุ การศึกษา และรายได้ของประชาชน ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วน อาชีพของประชาชน มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ จึง
3) ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ประชาชนที่เป็นแกนนำกลุ่มสมาชิกกลุ่มขาดความรู้ในการดำเนินชีวิตตามปลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และไม่มีการติดตามผล ไม่มีการประยุกต์ให้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสมสภาพพื้นที่ของชุมชน ทั้งนี้สมาชิกมีความรู้ต่างกันไม่เท่าเทียมกัน ตลอดจนแหล่งน้ำไม่เพียงพอกับพื้นที่เกษตร และประชาชนขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีข่าวสารการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและขาดความรู้การรวมกลุ่มแหล่งทุนการอุตสาหกรรม เทคโนโลยีอย่างมั่นคง ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ควรจัดให้แกนนำกลุ่ม สมาชิกกลุ่มได้รับการเรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เช่นเชิญวิทยากรจากหน่วยราชการมาให้ความรู้และจัดให้มีการติดตามผล จัดงบประมาณสร้างแหล่งน้ำให้เพียงพอกับพื้นที่การเกษตร จัดฝึกอบรมเรียนรู้อาชีพเสริมจากพื้นบ้านและจัดเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจัดสร้างศูนย์เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมีศูนย์สาธิตให้เห็นเป็นรูปธรรม จัดให้มีศูนย์เรียนรู้การรวมกลุ่มทุน และหาแหล่งทุนในการทำอุตสาหกรรมในชุมชนจัดให้มีการให้ความรู้กระจายข่าวสาร เทคโนโลยีให้ชุมชน แต่ละชุมชน เรียนรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
2. พระครูอุทัยวรกิจ (ณรงค์ สุปญฺโญ). (2557). “ประสิทธิผลการดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
3. พระมหาเอกมร ฐิตปญฺโญ (คงตางาม). (2553). “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักสาราณียธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. มยุรี พิมพ์สุวรรณ. (2545). “การดำเนินงานและความต้องการการแนะแนวการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ในโรงเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด”. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
5. สาคร ชำนาญปืน และคณะ. (2555). “การดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
6. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. (ม.ป.ท.).
7. สำนักทะเบียนอำเภอเมืองพิษณุโลก. รายงานสถิติประชากรและบ้าน ระดับตำบลของตำบลบึงพระ. ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (อัดสำเนา).
8. สินชัย คงไทย. (ร้อยตำรวจตรี). (2557). “การบริหารจัดการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานีตำรวจภูธรลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
9. สุเมธ ตันติเวชกุล. (2543). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. วารสารข้าราชการครู. มีนาคม-.
10. อภิชัย พันธเสน. (2556). เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงกับการวิเคราะห์ตามความหมายของนักเศรษฐศาสตร์ ในเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ TDRI ประจำปี 2542.